Chronic Wasting Disease: CWD หรือนิยมเรียกว่า “โรคซอมบี้กวาง” เป็นภาวะที่กวางมีอาการผอมหรือสูญเสียโปรตีนในร่างกายเรื่อย ๆ รวมทั้งสมองถูกทำลายอีกด้วย และตายในที่สุด
พบได้ในกวางล่อ กวางเอลก์ กวางมูส กวางแคริบู สามารถติดต่อไปยังลิง กระรอก รวมทั้งหนูได้อีกด้วย
โรคอุบัติให้เห็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1967 พบในกวางล่อ ณ ศูนย์วิจัยสัตว์ป่าทางตอนเหนือของโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันพบความแพร่หลายของกวางที่ติดเชื้อนี้ใน 24 รัฐ
อาการที่แสดงออกของโรค
ชื่อเล่นของโรคซอมบี้กวาง ไม่ได้มาเล่น ๆ แต่เป็นเพราะพฤติกรรมของกวางเปลี่ยนไปหลังติดเชื้อคล้ายซอมบี้ในภาพยนต์ ได้แก่
- ดื่มฉี่ของตัวเอง
- เดินวนไปมาในบริเวณเดิม
- หงุดหงิดง่าย
- ร่างกายสั่นเทาตลอดเวลา
- และลดการปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ตัวอื่น ๆ
กวางสุขภาพดีติดเชื้อจากซอมบี้กวางได้อย่างไร?
กวางสุขภาพดีบางตัวส่วนใหญ่มีพฤติกรรมดมกลิ่น (การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน) หรือถูกตัวกวางที่ติดเชื้อ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากการสัมผัส
สาเหตุของโรค
มีหลายทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายว่ากวางติดเชื้อนี้ได้อย่างไร หนึ่งในทฤษฎีเหล่านั้น ก็คือ
ทฤษฎีที่ 1 : การสังเคราะห์โปรตีน Prion (พรีออน) ที่ผิดปกติของร่างกาย
ปกติร่างกายจะผลิตโปรตีน Prion จากการถอดรหัสของยีน Prnp Gene
- ถ้า Prion ที่ออกมาปกติดีจะถูกเรียกว่า “PrPsen” หรือรูปแบบปกติ (Cellular) ละลายน้ำได้
- ถ้า Prion ออกมาผิดปกติจะเรียกว่า “PrPres” ก่อโรคและไม่ละลายน้ำ มักพบในระบบประสาทและสมอง การที่พบ PrPres ในระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตอาจก่อโรคที่หลากหลาย อย่างมนุษย์อาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้
ทฤษฎีที่ 2 : ภาวะติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ในปี 2017 คุณหมอ Frank Bastian จากมหาวิทยาลัยรัฐ Louisiana ได้พยายามชี้ให้เห็นว่าโรคกวางซอมบี้อาจเกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียจำพวก Spiroplasma ก็เป็นได้ แต่ทฤษฎีก็ตกไปหลังจากทดลองปลูกถ่ายเชื้อ Spiroplasma ไม่สามารถอยู่อาศัยในระบบประสาทของของสัตว์ได้ยาวนานเท่าระยะอาการของ “โรคกวางซอมบี้”
ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อเข้าสู่มนุษย์
ตามรายงานของ CMD : Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์ควบคุมการยับยั้งการระบาดของโรค) ของสหรัฐกล่าวว่า
การศึกษาในแง่การระบาดวิทยา และห้องปฏิบัติการยังคงต้องมีการติดตาม ตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวโน้มที่อาจมีการแพร่เชื้อสู่มนุษย์
CMD
- ค้นพบแบคทีเรียที่กินน้ำมันเป็นอาหารใต้ก้นทะเลลึก
- พบผู้ป่วยติดเชื้อโรคตับอักเสบชนิด E แพร่จากหนูรายแรกของโลก
ข้อแนะนำจาก CMD ก็คือ ควรหลีกเลี่ยงการกินกวาง หรือเนื้อเยื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทของกวาง (หรือใกล้เคียง) เช่น สมอง ไขสันหลัง ดวงตา ม้าม ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น คงจะเป็นวิธีป้องกันได้ดีที่สุด
เพราะความกังวลดังกล่าวอาจซ้ำรอยเหมือนในปี ค.ศ. 1970 จากโรควัวบ้า (Mad Cow) ซึ่งติดต่อในสัตว์หลายชนิด เช่น แกะ จึงมีความเชื่อกันว่า “โรคซอมบี้กวาง” อาจติดต่อจากแกะสู่ประชากรกวางในที่สุด
ทุกวันนี้ 1 ใน 10 ของจำนวนประชากรกวางตามรายงานของ CMD มีภาวะติดเชื้อ
Source:
[1] “Chronic wasting disease.”. [Online]. via : wiki 2019.
[2] “Health Officials Are Worried That ‘Zombie Deer Disease’ Could Someday Spread to Humans.”. [Online]. via : time.com 2019.
[3] “Pion.”. [Online]. via : wiki 2019.
[4] “Zombie deer arriving in New Jersey.”. [Online]. via : thepointpress.org 2019.