57 ปีก่อน มนุษย์สามารถเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในภารกิจอะพอลโล 11 และภารกิจจะสำเร็จไม่ได้เลย หากไม่ใช่เพราะเหล่านักวิทยาศาสตร์และทีมงานมากถึง 400,000 คน
ความท้าทายของโครงการอะพอลโล 11
การนำมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ ความท้าทายอย่างหนึ่ง คือ ทำอย่างไรให้เหล่านักบินอวกาศ ซึ่งได้แก่ นีล อาร์มสตรอง, บัสส์ อาลดรีน และไมเคิล คอลลินส์ ลงจอดบนดวงจันทร์และกลับโลกได้อย่างปลอดภัย
มาร์กาเรต ฮามิลตัน (Margaret Hamilton) นักวิศวกรซอฟแวร์หญิง เธอเป็นหนึ่งในทีมงาน 400,000 คน ผู้ซึ่งนอกจากจะเป็นวิศวกรซอฟแวร์ที่เก่งกาจแล้ว เธอยังเป็นผู้นำพาทีมในการพัฒนาซอฟแวร์นำทางของยานสำรวจอวกาศอะพอลโล 11 เพื่อลงจอดบนดวงจันทร์ และกลับโลกได้อย่างปลอดภัย
NASA ร่วมมือกับ MIT | โอกาสที่มีแค่ครั้งเดียว
เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมปี 1961 NASA ได้เข้ามาขอความร่วมมือกับ MIT ซึ่งเธอก็ได้มีส่วนร่วมด้วย วลีเด็ดที่มักได้ยินจากมาร์กาเรต ก็คือ “ไม่มีโอกาสครั้งที่สอง ซึ่งทุกคนต่างรู้ดี” (“There was no second chance. We all knew that”) ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจของเธอว่า การนำยานอะพอลโล 11 ไปจอดบนดวงจันทร์ แล้วนำนักบินอวกาศกลับโลกได้อย่างปลอดภัยนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องไม่มีเรื่องใดๆ ผิดพลาดเด็ดขาด อีกทั้งโครงการนี้ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของสหรัฐในการแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีให้คนทั่วทั้งโลกเห็น
ปี 2016 มาร์กาเรต ฮามิลตัน ได้รับเกียรติจากประธานาธิบดี Obama โดยเธอได้รับมอบ “เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี” ( Presidential Medal of Freedom) ซึ่งเป็นเหรียญที่หากใครได้รับจะถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตของการเป็นประชาชนชาวสหรัฐ เพราะผู้ซึ่งที่จะได้รับเหรียญจะต้องเป็นผู้ที่ทำความดีความชอบพิเศษต่อประเทศ โดยเฉพาะความมั่นคงของชาติ หรือผลประโยชน์อื่นใดต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อสันติภาพของโลก หรือวัฒนธรรม
นอกจากนี้มาร์กาเรตยังทำธุรกิจโดยเปิดบริษัทและเป็น CEO ที่ Hamilton Technologies, Inc. เธอเกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ปี 1936 เมือง Paoli รัฐ Indiana, สหรัฐ ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่
Reference and More Detail & Media
“Margaret Hamilton, Apollo Software Engineer, Awarded Presidential Medal of Freedom”. [Online]. via : NASA.
“Margaret Hamilton (scientist)”. [Online]. via : wiki.
No Responses