แหงนมองฟ้าในตอนกลางวัน ท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า และในขณะดวงอาทิตย์ขึ้นหรือลับขอบฟ้า ทำไมถึงเป็นสีแดง
ในช่วงท้ายๆคริสต์ศักราชที่ 18 ลอร์ดเรย์ลี (Lord Rayleigh) หรือเดิมชื่อ John William Strutt ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วย “ทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า” รวมทั้งขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกนั้น “ทำไมถึงเป็นสีแดง” เรย์ลีบอกว่าเกิดจากการกระเจิงของแสงอันเนื่องมาจากแสงเดินทางผ่านอนุภาคในอากาศซึ่งมีขนาดเล็ก
จากทฤษฎีและการทดลองอย่างง่าย พบว่าแสงในช่วงที่ตามองเห็นหรือ Visible Light – แสงสีน้ำเงินจะมีศักยภาพในกระเจิงแสงมากกว่าแสงสีแดง (หรืออีกนัยแสงสีแดงมีอำนาจทะลุทลวงมากกว่าแสงสีโทนฟ้า/น้ำเงิน) หากคุณมีก้อนผลึกโอปอลที่ค่อนข้างโปร่งแสง ก็สามารถทดลองง่าย ๆ โดยการวางไว้แล้วให้แสงขาววิ่งผ่าน จะเห็นได้ว่าอีกด้านหนึ่งของผลึกโอปอลจะปรากฏแสงสีแดงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่แสงสีฟ้าวิ่งทะลุผ่านมีความเข้มน้อยมาก แต่จะกระเจิงอยู่ภายในของผลึกโอปอล นั่นทำให้เราเห็นผลึกโอปอลเป็นสีฟ้า เช่นเดียวกับท้องฟ้าในตอนกลางวัน
ทำไมช่วงเย็นท้องฟ้าจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง
ในช่วงเย็นดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้า แสงที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์จะเดินทางไกลเป็นพิเศษ เพราะต้องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศที่หนากว่าเดิม เมื่อเทียบกับตำแหน่งในตอนกลางวัน หรือเหนือศีรษะของเรา ดังนั้นแสงสีที่เดินทางได้ดี หรือมีอำนาจทะลุทลวงสูงกว่าจึงได้เปรียบในการเดินทางทะลุชั้นบรรยากาศที่หนา นั่นก็คือ แสงสีแดง นั่นเอง
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสีของท้องฟ้ายามเย็นจึงเป็นสีโทนส้ม/แดง ที่ดูแสนโรแมนติก
การทดลองที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้าน