โดยปกติแล้วดาวฤกษ์มวลมากกว่า 9 เท่าของดวงอาทิตย์ขึ้นไปจะมีช่วงหนึ่งของวิวัฒนาการที่เกิดการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ปลดปล่อยสสารกระจายไปทั่วอวกาศ เราเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า “Supernova” ในท้ายที่สุดดาวฤกษ์จะกลายเป็น “ดาวนิวตรอน” ไม่ก็ “หลุมดำ”
แต่ถ้าดาวฤกษ์มวลน้อยกว่า 9 เท่าดวงอาทิตย์ของเรา (หรือแม้แต่ดวงอาทิตย์ของเราเอง) จะมีวาระสุดท้ายเป็นดาวแคระขาว และไม่เกิด Supernova
ดาวแคระขาวก็มีการระเบิด Supernova ได้
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในเอกภพแห่งนี้ เมื่อนักดาราศาสตร์สามารถตรวจจับดาว LP 40-365 ซึ่งเป็นดาวแคระขาวที่สามารถระเบิดตัวเองเป็น Supernova ได้ แน่นอนว่าต้องมีเงื่อนไขที่ว่าดาว LP 40-365 ต้องมีมวลมากกว่า 9 เท่าของดวงอาทิตย์ ว่าแต่มันได้มวลจากไหนกัน?
ระบบดาวฤกษ์คู่ (Binary Star)
เนื่องด้วยดาว LP 40-365 มีดาวฤกษ์คู่ของมันตั้งอยู่ใกล้ๆ โคจรรอบซึ่งกันและกัน (เราเรียกว่าระบบดาวฤกษ์คู่ หรือ Binary Star) เป็นตัวเติมมวลให้กับดาว LP 40-365 อยู่สม่ำเสมอ ลำพังแค่ดาวดวงใดดวงหนึ่งก็ไม่อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ Supernova ได้ ดังนั้นดาว LP 40-365 จึงเกิดปรากฏการณ์ Supernova ได้เนื่องจากได้รับมวลจากดาวคู่ของมันนั่นเอง
และความพิเศษของดาว LP 40-365 ก็คือ หลังเกิด Supernova เศษซากการระเบิดของดาวแคระขาว LP 40-365 ได้หลุดออกนอกวงโคจรเข้าสู่ห้วงอวกาศด้วยความเร็วสูงมาก นักดาราศาสตร์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าดาว LP 40-365 เกิด Supernova เมื่อ 5 – 50 ล้านปีก่อน แต่พึ่งจับภาพได้ในปัจจุบัน
Read Original Article and More Detail & Media
“An unusual white dwarf star may be a surviving remnant of a subluminous Type Ia supernova.”. [Online]. via : sciencemag 2017.
“Evidence found of white dwarf remnant after supernova.”. [Online]. via : phys.org 2017.