แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม หรือ อันตรกิริยาอย่างเข้ม (Strong interaction) เป็นหนึ่งในสี่ของแรงพื้นฐานจากธรรมชาติ
ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 1970 เป็นที่ถกเถียงกันในเหล่านักฟิสิกส์อนุภาคว่าโครงสร้างนิวเคลียสของอะตอมนั้นรวมตัวเข้าด้วยกันได้อย่างไร เราทราบกันดีกว่านิวเคลียสของอะตอมประกอบไปด้วยนิวตรอนและโปรตอน โดยนิวตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้า (_) ส่วนโปรตอนมีประจุเป็นบวก (+) เช่นนั้นแรงทางไฟฟ้าของประจุขั้วเดียวกันระหว่างโปรตอน ต้องผลักโปรตอนให้แยกออกจากกัน นั่นทำให้นิวเคลียสของสสารใดๆ ต้องไม่เสถียรตามไปด้วย จึงทำให้เกิดคำถามว่า “แรงอะไรที่ทำให้อนุภาคที่นิวเคลียสยึดติดกันได้”
จากการทดลองโดยให้อนุภาควิ่งชนนิวเคลียสของอะตอมจากเครื่องเร่งอนุภาคต่างๆ ทำให้พบว่ามีอนุภาคย่อยแตกออกมาอีก ได้แก่ ควาร์ก ชนิดต่างๆ ซึ่งเราจะพบว่าแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มจะทำงานในระยะรัศมี 1 เฟมโตเมตร หรือระดับ 10 ยกกำลัง -15 เมตร (เล็กกว่านิวเคลียส) เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่แยกออกจากกันด้วยแรงไฟฟ้า ดังนั้น แรงนิวเคลียร์ชนิดนี้ต้องมีความแรงหรือกำลังมากกว่ามาก จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม” แรงกว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้า 100 เท่า, มากกว่าแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน 1 ล้านเท่า และมากกว่าแรงดึงดูดระหว่างมวล 10 ยกกำลัง 38 เท่า
Read Original Article and More Detail & Media
“Strong interaction.“. [Online]. via : wikipedia 2016.
“The Strengths of the Known Force.“. [Online]. via : https://profmattstrassler.com 2016.