เมื่อเวลา 10 โมงเช้าตามเวลาประเทศไทย ยานสำรวจอวกาศจูโนได้เดินทางถึงดาวพฤหัสบดีเป็นที่เรียบร้อย
โดยขณะที่กำลังเข้าสู่วงโคจรที่ตั้งค่าไว้ ยานสำรวจอวกาศจูโนจำเป็นต้องลดระดับความเร็วหลุดพ้น ให้เหลือน้อยลงจนเร็วมากพอที่จะโคจรรอบดาวพฤหัสบดีได้ หรือเราเรียกว่า ความเร็วในวงโคจร โดยต้องติดเครื่องยนต์เพื่อชะลอความเร็วนานถึง 35 นาที
จูโนจะสำรวจอะไรให้เราบ้าง
1. องค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี
เครื่องมือที่นำไปกับยานสำรวจอวกาศจูโนนั้นประกอบไปด้วยเครื่องมือเก้าชิ้น โดยทำหน้าที่ต่างกัน หลักๆ คือ ศึกษาองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี ว่าแก่นของดาวนั้นประกอบไปด้วยของแข็ง (Solid) จริงหรือไม่
2. สนามแม่เหล็ก
โลกของเราสนามแม่เหล็กนั้นเกิดจากการเคลื่อนตัวของโลหะเหลวภายในแก่นกลาง ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำขนาดมหึมา แต่ความน่าสนใจของดาวพฤหัสบดีอย่างหนึ่งก็คือ เนื้อสารส่วนใหญ่เป็นแก๊สเมื่อเทียบกับแก่นที่คาดว่าจะเป็นของแข็งเพียงนิดเดียว คำถาม คือ สนามแม่เหล็กส่วนใหญ่ของดาวพฤหัสบดีมีที่มาอย่างไร
3. วัดปริมาณน้ำและแอมโมเนียในชั้นบรรยากาศ
4. แสงออโรล่าของดาวพฤหัสบดี
เรารู้ว่าแสงออโรล่าของโลกเกิดจากลมสุริยะเข้ามาปะทะสนามแม่เหล็กของโลกบริเวณขั้วของดาว ความน่าสงสัยนี้เป็นผลพวงมาจากคำถามที่ว่า ถ้าเกิดแสงออโรล่าจริง แล้วสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดีเกิดขึ้นได้อย่างไร
5. ระบบดาวเคราะห์และดาวบริวาร
ภารกิจนี้อาจทำให้เรารู้ว่าดาวพฤหัสบดีถือกำเนิดได้อย่างไร และพฤติการณ์ระหว่างดาวบริวาร เช่น ดาวไททัน กับดาวพฤหัสบดีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ความรู้ตรงนี้จะทำให้เราสามารถอธิบายระบบดาวเคราะห์ทีมีขนาดใหญ่เหมือนดาวพฤหัสบดีในระบบดาวฤกษ์อื่นๆในอนาคตได้อีกด้วย
Read Original Article and More Detail & Media
“NASA’s Juno Spacecraft in Orbit Around Mighty Jupiter.”. [Online]. via : NASA 2016.