หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “บลูมูน (Blue Moon)” หรือดวงจันทร์สีน้ำเงิน แล้วตกลงมันเป็นปรากฏการณ์แบบใดกันแน่?
ในคำไทย เรามีชื่อเรียกปรากฏการณ์บลูมูน (Blue Moon) ว่า “ทุติยเพ็ญ” โดยคำว่า “ทุติยะ” แปลว่า “สอง” กล่าวคือ ทุกๆหนึ่งปีจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงเดือนละครั้ง หรือ 12 ครั้งต่อปี แต่จะมีบางเดือนที่เกิด 2 ครั้ง อันเนื่องมาจากในหนึ่งปีหากนับปฏิทินตามสุริยคติจะมีเศษเวลาเกินที่ประมาณ 11 วัน รวมกันทุกๆ 2-3 ปี ทำให้บางเดือนมีดวงจันทร์เต็มดวงเกิดขึ้น 2 ครั้งนั่นเอง
แล้วดวงจันทร์สีน้ำเงินจริงๆ มีหรือไม่?
คำตอบ คือ มี และหาดูได้ยากมากๆ เพราะต้องอาศัยความเหมาะเจาะระหว่างวันนั้นมีดวงจันทร์เต็มดวง และในบรรยากาศมีฝุ่นควันในบรรยากาศมากกว่าปกติ เช่น ไฟป่าในสวีเดนและแคนาดา เมื่อปี ค.ศ.1950 และที่เห็นชัดที่สุดคือภูเขาไฟระเบิดที่กรากะตัวในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งทำให้ดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินเกือบสองปีเต็ม
สำนวน Once in a blue moon
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์สีน้ำเงิน หรือ Blue Moon ที่นานๆทีจะเกิดขึ้น จึงทำให้เป็นที่มาสำนวนของฝรั่งที่ว่า Once in a blue moon ซึ่งหมายถึง “นานทีปีหน หรือเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก”
Reference and More Detail & Media
“Blue Moon.“. [Online]. via : wikipedia 2015.
“ทุติยเพ็ญ“. [Online]. via : wikipedia 2015.
No Responses