ณ ตอนนี้ Voyager 2 ยานสำรวจอวกาศอายุ 40 กว่าปีของ NASA กำลังเคลื่อนที่สู่นอกระบบสุริยะ ในโซนที่เรียกว่า ช่องว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar Space)
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 2 ที่อยู่ห่างจากโลกมากที่สุด
ตั้งแต่ Voyager 2 ถูกส่งไปในปีคริสต์ศักราช 1977 จนถึงตอนนี้ มันก็เดินทางไปได้ถึง 17.7 พันล้านกิโลเมตรจากโลก หรือมากกว่า 118 เท่าของระยะทางระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์
Voyager 1 | Voyager 2 | |
วันที่ปล่อยยาน | วันจันทร์ที่ 5 ก.ย. 1977 | วันเสาร์ที่ 20 ก.ย. 1977 |
รวมเวลาภารกิจทั้งหมด | > 41 ปี 1 เดือน | > 41 ปี 1 เดือน 15 วัน |
ในปี 2007 Voyager 2 ได้เคลื่อนที่ผ่านชั้นนอกของเขตระบบสุริยะ (Heliosphere) หากเปรียบเทียบจะเป็นโซนขอบสุดที่สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์รวมถึงดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะส่งไปถึงได้
หากยาน Voyager 2 เคลื่อนที่ออกนอก Heliosphere ไปสู่บริเวณที่เรียกว่า Heliopause มันจะกลายเป็นวัตถุชิ้นที่ 2 ที่มนุษย์ส่งออกนอกระบบสุริยะเข้าสู่ช่องว่างระหว่างดวงดาว ตาม Voyager 1 ที่เคลื่อนออกระบบสุริยะไปไกลแล้ว
เครื่องมือวัดรังสีคอสมิกไฮเทคข้ามยุค
เครื่องมือวัดรังสีคอสมิก (the Cosmic Ray Subsystem instrument) บนตัวยาน Voyager 2 สามารถวัดอัตราการเพิ่มขึ้นของรังสีคอสมิกในช่วงเดือนกันยายนได้มากถึง 5%
การเพิ่มขึ้นของรังสีคอสมิกที่วัดได้นั้น เป็นเพราะเมื่อตัวยานได้เคลื่อนที่สู่นอก Heliosphere ไปแล้ว ซึ่งเลยขอบเขตอำนาจสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ (สนามแม่เหล็กทำหน้าที่เหมือนโล่ชนิดหนึ่ง)
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2012 ยาน Voyager 1 ก็ได้ทำหน้าที่วัดรังสีคอสมิกเช่นเดียวกับ ยาน Voyager 2 (วัดห่างกัน 6 ปี และถูกส่งไปพร้อม ๆ กัน) และ 3 เดือนต่อมา Voyager 1 ก็เข้าสู่ช่องว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar Space)
ทีมนักวิทยาศาสตร์ Voyager ได้อธิบายความต่างของช่วงระยะเวลาที่วัดปริมาณรังสีคอสมิกเพิ่มเติมอีกว่า
ยาน Voyager 2 ได้เคลื่อนสู่บริเวณขอบนอก Heliosphere ในบริเวณที่ต่างจากยาน Voyager 1 มันอาจใช้เวลาในการสำรวจไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากความหนาของชั้น Heliosphere มีสภาวะที่เปลี่ยนแปลงตามรอบกิจกรรมของดวงอาทิตย์ทุกๆ 11 ปี
ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถติดตามค่าที่วัดได้จากเครื่องวิทยาศาสตร์ของยาน Voyager ทั้งสองได้จาก Mission Status หรือโหลดโปรแกรมจำลองตำแหน่งที่ตั้งได้ที่ Eyes on Voyager