เมื่อวันที่ 18 เมษายน เวลาเกือบแปดโมงตามเวลาท้องถิ่นใน Florida จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ขนส่งดาวเทียม TESS ขึ้นสู่อวกาศ หวังปูพรมหาดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะของเรา
ดาวเทียม TESS หรือชื่อเต็มว่า “Transiting Exoplanet Survey Satellite” เป็นดาวเทียมที่ NASA ดวงใหม่ ใช้สำรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) ตัวยานประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญๆ ได้แก่
- กล้อง Full-Frame จำนวน 4 ตัว ใช้สำหรับถ่ายภาพท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
- แผงโซลาเซลล์ 4 แผง ใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องมือต่างๆ
อยู่ห่างจากโลกไกลออกไปเกือบถึงดวงจันทร์
การขนส่ง TESS ขึ้นสู่วงโคจรจะใช้เวลา 13.7 วัน โดยใช้จรวดขับดันถึง 6 ตัว เพื่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลกไปให้ถึงตำแหน่งที่ต้องการ และยังต้องใช้เวลาอีก 60 วันในการตรวจสอบและทดลองเครื่องมือต่างๆว่ายังใช้งานได้หรือไม่ ถึงจะเริ่มเข้าสู่ภารกิจสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
ความร่วมมือจาก MIT นำไปสู่การถ่ายรูปท้องฟ้ารอบทิศทาง
MIT เป็นผู้ออกแบบและพัฒนากล้องให้สามารถถ่ายท้องฟ้าได้รอบทิศทาง โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น 2 ช่วง
- ปีที่แรก – ดาวเทียม TESS จะถ่ายรูปท้องฟ้าเป็นจำนวน 13 ส่วน ในท้องฟ้าซีกใต้
- ปีที่สอง – ถ่ายรูปท้องฟ้าอีก 13 ส่วน ในท้องฟ้าซีกเหนือ
เมื่อนำรูปมาประกอบกันจะทำให้เราได้ภาพท้องฟ้า 26 ส่วน หรือเกือบครอบคลุมรอบทิศทางเลยทีเดียว
TESS หา Exoplanet ได้อย่างไร
ดาวเทียม TESS จะค้นหา Exoplanet ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 300 – 3,000 ปีแสง สามารถตรวจจับแสงดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 30 – 100 เท่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีจากกล้องของดาวเทียม Kepler ที่ใช้ในภารกิจคล้ายๆกัน
หากสังเกตชื่อของดาวเทียม TESS จะมีคำว่า “Transiting” ซึ่งหมายถึง “การโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์บริวาร” ดังรูปด้านล่าง
เมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ จะทำให้แสงสว่างของดาวฤกษ์เปลี่ยนค่าไป ดาวเทียม TESS จะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงความสว่างดังกล่าว หากเกิดขึ้นจริง แสดงว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นมีดาวเคราะห์บริวารนั่นเอง หากนำข้อมูลเชิงแสงที่ได้มาไปวิเคราะห์ด้วยกระบวนการ Spectroscopy – ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการดูดกลืนและปลดปล่อยแสงของดาว จะทำให้เราประมาณขนาดมวลของดาวเคราะห์ ความหนาแน่น และองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศได้ และที่สำคัญที่สุด ถือเป็นหัวใจหลักของภารกิจนั่นก็คือ ประเมินสภาพความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์นั้นจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
Read Original Article and More Detail & Media
“NASA Planet Hunter on Its Way to Orbit.”. [Online]. via : NASA 2018.
“TESS MISSION.”. [Online]. via : NASA 2018.