เครื่องมือตรวจจับ MISR จากดาวเทียม Terra ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA ตรวจจับลูกไฟที่กำลังวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศโลกเข้ามาได้
โดยภาพที่ถ่ายได้นำมาเรียงต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหว (GIF) จากกล้อง 9 ตัว เผยให้เห็นหางของอุกกาบาต (Meteor’s Trail) วิ่งผ่านชั้นบรรยากาศ โดยภาพนี้อันที่จริงถ่ายได้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม แต่พึ่งนำมาเผยแพร่เมื่อ 2 วันก่อน
มี 2 คำที่มักจะทำให้สับสนกันก็คือ Fireball และ Meteor นิยาม 2 ตัวนี้ต่างกัน แต่มาจากสิ่งเดียวกัน
Fireball คือ ปรากฏการณ์ที่ก้อนอุกกาบาต (Meteor) ระเบิดออกและปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานบางส่วนเปลี่ยนไปในรูปแสงหลังจากเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจนร้อน จึงทำให้ผู้สังเกตมองเห็นได้ โดยปกติจะระเบิดเหนือพื้นที่กว้าง (Wide Area) หรือเหนือทะเลอย่างในกรณีนี้ระเบิดเหนือทะเล Bering ที่ความสูงประมาณ 26 กิโลเมตร ในบางครั้งหากไม่มีการระเบิดก็จะตกถึงพื้นดิน สร้างความเสียหายสูงมากจนเกิดเป็นหลุมที่เรียกว่า Crater
อุกกาบาตที่ถ่ายได้นี้มีพลังงานในการระเบิดประมาณ 173 กิโลตัน หรือเรามักจะนำไปเทียบกับการระเบิดของลูกระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ 10 เท่า
ทั้งนี้อุกกาบาตเกือบทุกลูกที่เครื่องมือจากดาวเทียม Terra ตรวจจับได้จะถูกบันทึกในฐานข้อมูล Near Earth Object หรือ NEO ที่ศูนย์ของ NASA