ทุกวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี จะเป็นวันพิเศษทางดาราศาสตร์ในแง่ที่ระยะเวลาในช่วงกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนมากที่สุด และหลังจากนั้นเวลาในช่วงกลางคืนจะค่อย ๆ เพิ่มในสัดส่วนที่มากขึ้น
เราจึงเรียกชื่อทุกวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีว่า “วันครีษมายัน”
หรือ “อุตตรายัน” มาจากคำว่า “Summer Solstice” โดยที่ Solstice แปลว่า “จุดหยุด” นั่นหมายถึง จุดสิ้นสุดของฤดูร้อน
ตัดฉากมาที่เมืองยู่หลิน มณฑลกวางชี ประเทศจีน ทุกปีจะมีเทศกาลเฉลิมฉลองประจำปีระหว่างวันครีษมายันไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จุดน่าสนใจของเทศกาลนี้คือ
จะมีการรับประทานเนื้อสุนัขและลิ้นจี่เพื่อเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูร้อน
ชาวเมืองยู่หลินเชื่อว่าการรับประทานสุนัขและลิ้นจี่จะช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ ทุก ๆ ปีจะมีสุนัขราว 10,000 – 15,000 ตัวถูกนำมาบริโภค เทศกาลดังกล่าวจึงถูกต่อต้านจากผู้สนับสนุนสวัสดิภาพของสัตว์เป็นประจำทุกปี
รัฐบาลท้องถิ่นของยู่หลินมักปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือการสนับสนุนในเทศกาลดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นและมีจำนวนผู้อาศัยอยู่น้อย
ในขณะที่ผู้จัดเทศกาลกล่าวว่า
การกินสุนัขไม่ต่างจากการกินเนื้อหมูหรือวัว
ส่วนสาเหตุที่กลางวันและกลางคืนในแต่ละวันในหนึ่งปียาวนานไม่เท่ากัน เป็นผลมาจากแกนโลกเอียงและการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้แต่ละพื้นที่บนโลกรับแสงจากดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันนั่นเอง
เรียบเรียงโดย Einstein@min | thaiphysicsteacher.com
Sources:
[1]: Summer Solstice., wikipedia, 2019
[2] : Lychee and Dog Meat Festival., wiki., 2019