ตามข่าวและงานวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Daegu Gyeongbuk ประเทศเกาหลีใต้พบว่าความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) เป็นเหตุให้เซลล์ต้นกำเนิดประสาท (Neural Stem Cells : NSCs) บริเวณสมองส่วน Hippocampus ถูกทำลาย
ความเครียดเรื้อรังเป็นเหตุของโรคทางจิตเวชหลายอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) โรคจิตเภท (Schizophrenia) นอกจากนี้ความเครียดสามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทเช่น อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ได้อีกด้วย
กลไกที่แน่นอนของความเครียดที่ส่งผลต่อความเสียหายต่อการทำงานของสมองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในขณะที่การศึกษาก่อนหน้าพบว่าการตายของเซลล์ประสาทไม่มีความเกี่ยวข้องกับการสูญเสีย NSCs อันเนื่องมาจากความเครียด ดังนั้นสาเหตุของการลดลงของจำนวนเซลล์ประสาทในสมองของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะใน Hippocampus ยังคงตรวจพบได้ปกติ
อย่างไรก็ตามงานวิจัยในปัจจุบันของศาสตราจารย์ Yu และทีมพบว่าความเครียดกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดประสาท (NSCs) ของ Hippocampus ถูกกลไกลกินตัวเอง (Autophagy) จนได้รับความเสียหาย
Autophagy แปลในภาษากรีกได้ว่า “Self-eating” กินตัวเอง โดยเป็นกระบวนการที่เซลล์ใช้ปกป้องตัวเองจากสภาวะไม่เอื้ออำนวยผ่านการย่อยและรีไซเคิลภายในตัวของเซลล์เอง
โดยเซลล์สามารถกำจัดส่วนประกอบที่เป็นพิษหรือเซลล์เก่าและรับสารอาหารต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตาม Autophagy สามารถก่อให้เกิดกระบวนการทำลายตัวเองภายใต้เงื่อนไขหนึ่ง (ภาพกว้างคือ ความเครียด แต่ในงานวิจัยเชื่อว่าเกี่ยวกับยีน)
การทดลอง
ทีมวิจัยได้ทดลองดัดแปลงพันธุกรรมของหนูโดยลบยีน ATG7 ที่เป็นยีนควบคุม (Control) กระบวนการ Autophagy พบว่าหนูตัวดังกล่าวมีอาการทางความเครียดลดลง/หายไป
สำหรับการค้นคว้าต่อไปทีมวิจัยจะศึกษาในเชิงลึกในยีน SGK3 เพิ่มเติม โดยเป็นยีนที่ควบคุม/กระตุ้น (Trigger Gene) ให้เกิดกระบวนการ Autophagy โดยเชื่อว่าหากลบยีน SGK3 จะทำให้เซลล์ต้นกำเนิดประสาท NSCs ในสมองส่วน Hippocampus ไม่ถูกทำลายจากกลไกดังกล่าว ก็จะทำให้ไม่เกิดความเครียดขึ้น
ทั้งนี้ศาสตราจารย์ Yu หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากเราพัฒนาระบบการรักษาที่ยับยั้งการทำงานของกลไก Autophagic ได้จะช่วยให้ผู้ป่วยทางจิตเวชมีความสุขมากยิ่งขึ้น
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ความรู้และความหวังกับผู้ที่เกี่ยวข้องนะครับ 😀
เรียบเรียงโดย Einstein@min
[1] Autophagic death of neural stem cells mediates chronic stress-induced decline of adult hippocampal neurogenesis and cognitive deficits. doi, 2019 : https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/15548627.2019.1630222
[2] Scientists discover how chronic stress causes brain damage. medicalxpress.com, 2019 https://medicalxpress.com/news/2019-08-scientists-chronic-stress-brain.html
[3] ATG7. wiki, 2019: https://en.wikipedia.org/wiki/ATG7
ช่องทางติดตามข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys