ระบบสุริยะเกิดจากการหลอมรวมกันของกลุ่มเมฆแก๊สและฝุ่นขนาดใหญ่ในช่วงแรกด้วยอัตราที่ค่อนข้างคงที่ แต่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันพบว่ากระบวนการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
Rafael Ribeiro de Sousa หนึ่งในนักวิจัยได้อธิบายว่าเมื่อศึกษาวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และเทหวัตถุอีกหลายชิ้นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเปรียบเสมือนร่องรอยของการก่อตัวของระบบสุริยะในอดีต (History of the formation) และประมวลผลผ่านระบบคอมพิวตอร์พบว่า
“กลุ่มแก๊สและฝุ่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เมื่อ 4,600 พันล้านปีก่อน กลายเป็นดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ก่อตัวในวงโคจรใกล้ซึ่งกันและกัน และอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ อีกทั้งวงโคจรมีระนาบใกล้เคียงกันและมีลักษณะเป็นวงกลมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”
ทราบได้อย่างไรว่ากระบวนการเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
ตามที่กล่าวไปในย่อหน้าที่ผ่านมา ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ในช่วงต้นจะร่วมผสมโรงในการดึงดูดแก๊สให้ไหลวนเข้าหาตัวเอง โดยเฉพาะดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ที่สวาปามแก๊สและฝุ่นแข่งกัน นักวิจัยพบว่าดาวพฤหัสบดีมีช่วงเวลาในการวิวัฒนาการตัวเองถึงสามรอบ ในขณะที่ดาวเสาร์เปลี่ยนแปลงตัวเองไปสองรอบ
หรือกล่าวได้ว่าดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีส่วนร่วมทำให้ระบบสุริยะก่อตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เกิดอะไรขึ้น ณ บริเวณรอบนอกระบบสุริยะ
ขณะที่ดาวเคราะห์ยักษ์กำลังช่วยสร้างระบบสุริยะ เทหวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากแถว ๆ รอบนอกระบบสุริยะเริ่มเข้ามารบกวนสมดุลความโน้มถ่วง โดยเฉพาะดาวเคราะห์ยักษ์ที่กำลังทำงานของมันอยู่ เมื่อเทหวัตถุขนาดเล็กเข้ามาในวงโคจรของดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์จะเกิดปฏิสัมพันธ์ความโน้มถ่วงอย่างรุนแรง
หรือกล่าวง่าย ๆ ได้ว่าถูกผลักออกสู่นอกอวกาศ หรือพ้นขอบระบบสุริยะไปเลย ทำให้ระบบสุริยะดูสดใสและสะอาดยิ่งขึ้น บางส่วนหลอมรวมกลายเป็นดาวเคราะห์หิน และบางส่วนหลงเหลืออยู่ใกล้กับขอบนอกระบบสุริยะ หรือปัจจุบันเราเรียกว่าแถบ Kuiper อันเป็นที่อยู่ของดาวพลูโตและดาวแคระห์น้ำแข็งจำนวนมาก
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] Solar system acquired current configuration not long after its formation. phys.org, 2020 : https://phys.org/news/2020-03-solar-current-configuration-formation.html
[2] Dynamical evidence for an early giant planet instability. sciencedirect, 2020 : https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0019103519301332?via%3Dihub
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys