นกแต่ละชนิดมีลักษณะภายนอกแตกต่างกันไปอย่างชัดเจน ลักษณะหนึ่งที่ทำให้เราจำแนกนกได้อย่างเด่นชัด คือ ลวดลายและสีขนของมัน อะไรคือความลับของการสร้างลวดลายเหล่านี้
สีขนและลวดลายของนกมีขึ้นเพื่ออำพรางสายตาจากนักล่า นกบางชนิดใช้สีขนและลวดลายในการล่าเหยื่อของมันด้วยเช่นกัน แต่อะไรทำให้มันมีสีขนและลวดลายเช่นนั้น? นี่เป็นปริศนาที่ต้องหาคำอธิบายในระดับเซลล์เลยทีเดียว (Cellular Level)
ดอกเตอร์ Ismael Galván และทีมวิจัย ได้ศึกษาการสร้างสีขนและลวดลายของนกโดยเฉพาะ ทีมวิจัยกล่าวว่าขนนกทั้งตัวของนกเกิดจากเม็ดสี 2 ชนิด ได้แก่
- Melanins ทำหน้าที่สร้างสีดำ เทา น้ำตาล และส้มแก่ขนนก
- ส่วน Carotenoids ที่พบในขนนกจะทำหน้าที่ให้ขนดูสว่าง
กุญแจไขความลับอยู่ที่ Melanins และ/หรือ Caroteniods
ร่างกายของนกสร้าง Caroteniods ไม่ได้
นักวิจัยพบว่า Carotenoids แทบไม่มีบทบาทในการสร้างลวดลาย (Pattern) ของขนนกเลย เพราะนกจะได้รับ Carotenoids จากการกินอาหารเท่านั้น เมื่อ Caroteniods ถูกย่อยในระดับโมเลกุล มันจะเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเข้าไปยังรูขุมขนของนกที่เรียกว่า “Feather Follicles” อีกทั้งร่างกายนกไม่มีเซลล์ในการควบคุมกระบวนการสร้างและกักเก็บ Caroteniods เฉพาะ จึงถูกกักเก็บไว้ในขน ทำให้ Caroteniods เปรียบเสมือนสีพื้นที่ทาไว้ทั้งตัวของนก
Melanins อธิบายได้
นักวิจัยโฟกัสการวิจัยไปที่ Melanins เพราะนกมีเซลล์ที่สามารถสร้าง Melanins ได้เรียกว่า “Melanocytes” นักวิจัยศึกษาบทบาทของ Melanins ที่มีผลต่อสีและลวดลายของขนนกกว่า 9,000 ชนิด โดยมีเป้าหมายว่า Melanins น่าจะเป็นช่วยไขความลับของสีและลวดลายของนกได้
ผลลัพธ์ที่พอเป็นไปได้
น่าเสียดายที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า มีนกจำนวน 32% จาก 9,000 ชนิดที่การสร้างสีขนและลวดลายเป็นผลจาก Melanins มากกว่า Caroteniods (แต่นก 98% ใช้ Melanins ในการสร้างสีขน) ดังนั้นสรุปได้ว่านกไม่กี่ชนิดใช้ Caroteniods ในการสร้างสีพื้นให้กับขนทั้งตัวของมัน และใช้ Melanins ในการสร้างลวดลาย
ข้อจำกัดของการศึกษาครั้งนี้
มีนกอยู่ 3 ชนิดที่ไม่เป็นไปตามการศึกษานี้ กล่าวคือ มันสามารถสร้างลวดลายบนขนได้แม้จะปราศจาก Melanins ได้แก่ นกพิราบผลไม้ (Fruit Doves) นก Cotingas และนกกระสา ซึ่งสีและลวดลายที่ปรากฏบนร่างกายของมันกลับเป็นผลมาจาก Caroteniod หรือจากอาหารที่มันกินเข้าไป
Read Original Article and More Detail & Media
“Complex Plumage Patterns Can Be Produced Only with the Contribution of Melanins.”. [Online]. via : journals.uchicago.edu 2017.