นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้ตีพิมพ์การค้นพบสาเหตุของความรู้สึก “ยอมแพ้และภาวะซึมเศร้า” ผ่านวารสารออนไลน์ Cell.com เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยสาเหตุเกิดจากการกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีตัวรับ (Receptor) ชื่อว่า Nociceptin – เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งเข้าไปยับยั้งสารสื่อประสาท Dopamine ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรารู้สึกพึงพอใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ (มีทัศนคติในแง่บวก)
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า Nociceptin คือ สารที่ทำให้เรารู้สึก Depress เจ็บปวด กลัวผลลัพท์การกระทำของตัวเอง เป็นศัตรูกับ Dopamine ที่ให้ผลในทางตรงกันข้าม
Pedersen หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า
การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสารทั้งสองอาจช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของคนและสัตว์ได้มากยิ่งขึ้น
ภาวะซึมเศร้า
นักวิจัยเชื่อว่าเซลล์ประสาทของผู้ป่วยมีการทำงานที่ผิดจากภาวะปกติ ทำให้การหลั่งของสารทั้งสองอยู่สภาวะไม่สมดุลกัน (อาจมี Nociceptin มากไปก็เป็นได้) หากเราเข้าใจการทำงานของเซลล์ประสาทได้ อาจช่วยหาวิธีทำให้ผู้คนที่ภาวะซึมเศร้า (depression) การติดสารเสพติด (Addiction) และภาวะเสพติดการกิน (eating disorders) ได้ในอนาคต
การทดลองให้หนูหาซูโครส
นักวิจัยทดลองให้หนูเดินค้นหาซูโครสที่อยู่ในช่อง (Port) ที่ยากแก่การเข้าถึง ในช่วงแรกหนูต้องสอดจมูกเข้าไปให้ลึกแต่เกือบเอื้อมถึง ต่อมาหนูได้พยายามอีกหลายครั้งจนมันยอมแพ้ในที่สุด
ในระหว่างนั้นนักวิจัยก็สังเกตว่าสมองส่วนใดของหนูถูกกระตุ้นมากที่สุดขณะยอมแพ้ จึงพบว่ากลุ่มเซลล์สมองที่มีตัวรับ Nociceptin มักมีกิจกรรมทางสมองมากกว่าปกติ การทดลองดังกล่าวใช้เวลาถึง 4 ปีถึงจะสรุปได้ว่า Nociceptin มีผลต่อการทำงานของ Dopamine
ทั้งนี้นักวิจัยอยากให้คิดถึงในสถานการณ์ที่ต่างออกไปว่า ผู้ที่ไม่มีแรงจูงใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ไม่ได้เป็นผลจากเรื่องของจิตใจ แต่อาจเป็นผลมาจากเซลล์ประสาทปิดกั้นสารแห่งความสุขเนื่องจาก Nociceptin ก็เป็นได้ หากเราสามารถยับยั้งการทำงานของ Nociceptin ก็หวังว่าจะช่วยให้ผู้คนมีความสุขมากยิ่งขึ้น
Sources:
[1] A Paranigral VTA Nociceptin Circuit that Constrains Motivation for Reward. cell.com, 2019:
[2] Researchers discover the science behind giving up. medicalxpress.com, 2019