กลุ่มของนักเรียนและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ (Delft University of Technology) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกแบบยานสำรวจระหว่างดวงดาว หรือที่เรียกกันว่า “Starship”
คงเป็นไปได้ยากที่จะสร้างยานสำรวจระหว่างดวงดาวความเร็วแสงช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางและการดำรงชีพในอวกาศโดยอาศัยเทคโนโลยีในปัจจุบัน แต่ด้วยความพยายามของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่พยายามออกแบบยานสำรวจระหว่างดวงดาวที่คำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี
ทีมวิจัยนี้ชื่อว่า DSTART – Delft Starship Team ได้ออกแบบยานสำรวจระหว่างดวงดาว โดยจะใช้ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกขุดทำให้กลวงภายใน (Hallow-out Asteroid) และใช้เป็นยานสำรวจ และสิ่งที่สำคัญ คือ ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ในยานเป็นไปอย่างปกติ
คำนึงถึงทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเดินหลายสิบปี
ทีมได้โฟกัสไปที่เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆที่มนุษย์จำเป็นต้องมีต้องใช้ได้แก่
- อุปกรณ์เทคโนโลยีและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
- ปัจจัยทางชีวภาพที่เหมาะสม
- สภาพสังคมที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลานาน เช่น มีโซนผ่อนคลาย, เล่นกีฬา, สวนหย่อม เป็นต้น
ความร่วมมือจาก European Space Agency
ทีมวิจัยอีกชุดจาก ESA ชื่อว่า MEliSSA – Micro-Ecological Life Support System ได้มีส่วนช่วยในการออกแบบระบบสนับสนุนการดำรงชีพในอวกาศ โดยได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystem) ซึ่งมีการแปลสภาพกลับไปมาระหว่างของเสียจากการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ดำรงชีพได้ ได้แก่ การเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ที่ไม่ใช่ปัจจัยการดำรงชีพของมนุษย์ (แต่จำเป็นสำหรับพืช) ให้กลายเป็นออกซิเจน น้ำ และอาหารได้
ตะไคร่น้ำช่วยสร้างระบบนิเวศ
ในธรรมชาติตะไคร่น้ำจะตรึงคาร์บอนไดออกไซด์และคลายออกซิเจนจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ในขณะที่สิ่งมีชีิวิตเลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีความจำเป็นต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีความจำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจน เราเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า “Bioreactor” – ระบบหรืออุปกรณ์ที่ช่วยสร้างปัจจัยความอยู่รอด ซึ่งทีม ESA เคยทำการทดลองสร้าง Bioreactor บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS มาแล้ว
ในเดือนหน้าทีม DSTART จะนำเสนอดีไซน์ของยาน StarShip เวอร์ชั่นแรกด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่งาน AgroSpace-MELiSSA workshop ณ กรุงโรม