ศูนย์วิจัยดาวเทียมเพื่อการศึกษาอวกาศฝรั่งเศสเตรียมทดสอบเพื่อหาช่องโหว่ของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์
เมื่อ 2 ปีก่อนศูนย์วิจัยดาวเทียมเพื่อการศึกษาอวกาศฝรั่งเศสได้ส่งดาวเทียม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Copernicus มูลค่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หนึ่งในเป้าหมายนั้นคือ การทดสอบเพื่อหาช่องโหว่ของทฤษฎีก้องโลกอย่างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ในอวกาศมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้โลหะสองชิ้น ได้แก่ โลหะไทเทเนียม และโลหะผสมแพทินัม-โรเดียม ในการปล่อยออกจากดาวเทียมเพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลระหว่างที่มันอยู่ในวงโคจร
ทฤษฎีของไอน์สไตน์ได้กล่าวไว้ว่าในสภาพที่วัตถุสามารถตกลงอย่างอิสระได้อย่างสมบูรณ์ (เช่นในอวกาศ) วัตถุสองชิ้นควรจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ดาวเทียมจับความแตกต่างของทิศทางได้ ก็ถือว่าทฤษฎีของไอน์สไตน์นั้นมีปัญหา และถือเป็นการเขย่าวงการฟิสิกส์เลยทีเดียว
via : CNES 2016.