สำหรับการเคลื่อนที่แบบวงกลมนั้น ถือว่าเป็นกรณีเฉพาะกรณีหนึ่งของการเคลื่อนที่แบบหมุน ทีนี้เราจะสนใจกรณีทั่วๆไปของการเคลื่อนที่แบบหมุนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และมักจะนำมาเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง ทั้งกรณีความเร็วคงที่ และกรณีความเร็วไม่คงที่ (มีความเร่งแบบคงที่)
เนื้อหา :
กรณีที่ 1 การเคลื่อนที่แบบหมุนด้วยอัตราคงที่
จะมีปริมาณที่เกี่ยวข้องคล้ายๆกับการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง ดังนี้
1.มุม (angle) มักใช้สัญลักษณ์เป็น เป็นค่าแสดงถึงว่า “วัตถุมีการเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิมไปด้วยมุมเท่าใดจากเดิม”
สมการการเคลื่อนที่แบบหมุน
2.อัตราเร็วเชิงมุม (angular speed) :
- หมายถึง มุมที่วัตถุเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิม เมื่อเทียบกับหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณสเกลาร์ หรือเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้
3.ความเร็วเชิงมุม (angular velocity) :
- หมายถึง มุมที่วัตถุเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิม เมื่อเทียบกับหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยทิศทางที่เราสนใจอาจจะเป็นในรูปแบบ ตาม หรือ ทวน เข็มนาฬิกา ดังนี้
4. ความเร่งเชิงมุม (angular acceleration) :
- หมายถึง ความเร็วเชิงมุมที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเทียบกับหนึ่งเวลา เป็นปริมาณเวกเตอร์ เขียนเป็นสมการได้ ดังนี้