หินที่เต็มไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้บริเวณที่เชื่อว่าเป็นทะเลสาบโบราณบนดาวอังคารอาจชี้ได้ว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ที่นี่มาก่อน
หินเหล่านี้ฟอร์มตัวอยู่ที่ก้นทะเลสาบ ซึ่งเป็นบริเวณที่ดีที่สุดที่เราสามารถหาฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่เมื่อพันล้านปีก่อนได้ การศึกษานี้อาจนำแสงสว่างมาสู่นักวิจัยที่จะหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก อย่างเช่น พวกจุลชีพ หรือ (Microbes) บนดาวอังคาร
จากการประเมินของทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่าชั้นหินตะกอน ซึ่งฟอร์มตัวจากโคลนที่ถูกทับถมกับซากของสิ่งมีชีวิต หรือ ฟอสซิล – หินเหล่านี้มักมีธาตุเหล็กและแร่ธาตุอื่นๆ อยู่เต็มไปหมด มักเรียกว่า ซิลิกา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการก่อตัวของฟอสซิลเมื่อ 3 – 4 พันล้านปีก่อน และเชื่อได้ว่า ณ ช่วงเวลาดังกล่าวคงมีแหล่งน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์บนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งเหมาะแก่การก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต
ชั้นหินตะกอนบนดาวอังคารช่วยรักษาสภาพฟอสซิลได้ดีกว่า
เมื่อเทียบกับชั้นหินอายุเดียวกันระหว่างดาวอังคารและโลก นักวิจัยกล่าวว่า ชั้นหินของดาวอังคารดีกว่าในแง่การเก็บรักษาสภาพของฟอสซิล เนื่องจากแผ่นทวีปมีการเคลื่อนตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับโลก ทำให้ชั้นหินและฟอสซิลแทบไม่ถูกทำลายจากการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีป
ในปี 2020 NASA จะส่งรถ Rover ทำภารกิจบนดาวอังคาร โดยเก็บตัวอย่างหินส่งกลับมายังโลก เพื่อวิเคราะห์และเตรียมเป้าหมายสู่ภารกิจใหม่ในอนาคต
ทั้งนี้งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ผ่านวารสารวิจัยธรณีกายภาพร่วมกับ NASA, มหาวิทยาลัย Brown, สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย, MIT และ Yale
Read Original Article and More Detail & Media
“A Field Guide to Finding Fossils on Mars.”. [Online]. via : AGU100 2018.
“Mars rocks may harbor signs of life from four billion years ago.”. [Online]. via : phys.org 2018.
No Responses