ลักษณะวงโคจรที่แกว่งไปมาของดวงจันทร์ Naiad ถูกเรียกว่า “Dance of avoidance” – “การเต้นรำเพื่อหลบเลี่ยง”
NASA ได้วิเคราะห์ลักษณะการโคจรสัมพัทธ์กันระหว่างดวงจันทร์ Naiad และดวงจันทร์ Thalassa และพบว่าดวงจันทร์ Naiad เต้นไปรอบ ๆ ดวงจันทร์ Thalassa โดยทั้งสองเปรียบเสมือนดวงจันทร์คู่หูโดยอยู่ห่างกันเพียง 1,850 กิโลเมตรเท่านั้น
วงโคจรของดวงจันทร์ Naiad เอียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวงโคจรของ Thalassa และไม่ว่าเวลาผ่านไปนานเพียงใดการโคจรแบบแกว่งของดวงจันทร์ Naiad ก็ไม่อาจชนดวงจันทร์ Thalassa ได้เลย เพราะช่วงเวลาในการโคจรรอบดาวเนปจูนเหมาะสมเป็นอย่างมาก (Perfectly Timing)
ดวงจันทร์ Naiad โคจรครบรอบดาวเนปจูนทุก ๆ 7 ชั่วโมง ในขณะที่ดวงจันทร์ Thalassa จะใช้เวลา 7.5 ชั่วโมง หากเราเป็นผู้สังเกตอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ Thalassa จะเห็นการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงจันทร์ Naiad เป็นรูปแบบซิกแซก (Zigzag) – เคลื่อนที่ขึ้น ๆ ลง ๆ (ต้นฉบับใช้คำว่า Up Up Down Down) เป็นอย่างนี้ทุกครั้งที่ดวงจันทร์ Naiad เคลื่อนที่ผ่านดวงจันทร์ Thalassa
Marinza Brozović หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญพลศาสตร์ระบบสุริยะกล่าวว่า
เราเรียกรูปแบบการเกิดซ้ำ (Repeating Pattern) ของการโคจรรอบซึ่งกันและกันระหว่าง Naiad และ Thalassa ว่า “Resonance” – “การกำทอนของวงโคจร” และยังมี Resonance อีกหลายแบบของวงโคจรระหว่างดาวเคราะห์เหล่านี้ แต่หนึ่งในรูปแบบ Resonance ที่ยังไม่มีการตรวจพบก็คือ Resonance ระหว่าง “ดวงจันทร์และดาวเคราะห์น้อย” (Moons and Asteroids)
ปัจจุบันดวงจันทร์ของดาวเคราะห์เนปจูนที่ถูกยืนยันการค้นพบมีอยู่ 14 ดวง โดยที่ดวงจันทร์ Neso อยู่ห่างจากเนปจูนมากที่สุดมีวงโคจรเป็นวงรี โดยระยะที่ไกลที่สุดอยู่ห่างมากถึง 74 ล้านกิโลเมตร จะต้องใช้ระยะเวลา 27 ปีกว่าจะโคจรรอบเนปจูนได้สักรอบ
ที่มาของชื่อดวงจันทร์ Naiad และ Thalassa
ทั้งนี้ที่มาของชื่อดวงจันทร์ Naiad มาจากชื่อวิญญาณของหญิงสาวในตำนานเทพเจ้ากรีกนามกว่า “Naiads” โดยเธอจะคอยเฝ้าและดูแลแหล่งน้ำลำธารต่าง ๆ โดยแหล่งน้ำที่เธอดูแลจะเป็นเฉพาะน้ำจืด
ในขณะที่ Thalassa เป็นชื่อของเทพธิดาแห่งทะเลนามว่า Thalassa (แปลว่า Sea) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ Thalassa เป็นเทพเจ้าที่ดูแลแหล่งน้ำเค็มนั่นเอง
Bottom line :
ยาน Voyager 2 ค้นพบดวงจันทร์ Naiad และ Thalassa ในปี ค.ศ. 1989
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources :
[1] NASA finds Neptune moons locked in ‘dance of avoidance’. phys.org, 2019 : https://phys.org/news/2019-11-nasa-neptune-moons.html
[2] Naiad (moon). wiki.org 2019 : https://en.wikipedia.org/wiki/Naiad_(moon)
[3] Thalassa (moon). wiki.org 2019 : https://en.wikipedia.org/wiki/Thalassa_(moon)
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys