หลายวันก่อนองค์การอวกาศยุโรป (ESA : European Space Agency) และและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอสเพื่อการสำรวจอวกาศของรัสเซีย (Russian Space Agency Roscosmos) ได้ถ่ายทอดสดการลงจอดของยานอวกาศภาคพื้นดิน “The Schiaparelli lander” ในโครงการสำรวจที่มีชื่อว่า “ExoMars“
ภารกิจหลักค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
โครงการ ExoMars เป็นภารกิจแรกของ ESA และรัสเซียในการสำรวจดาวอังคาร โดยมีเป้าหมายหลักคือ หาหลักฐานการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร หลังจากที่มีการสำรวจระยะไกลจากยานอวกาศที่โคจรรอบดาวอังคาร เช่น การค้นพบของเหลวบนดาวอังคาร ของ NASA เมื่อปีที่แล้ว
ในวันที่ 14 มีนาคม 2016 ที่ผ่านมา ESA ได้ส่งยานสำรวจอวกาศ Exo Mars Gas Orbiter เป็นยานแม่ พร้อมกับยานสำรวจภาคพื้นดิน Schiaparelli EDM lander ใช้เวลาเดินทางจากโลกถึงดาวอังคารประมาณ 6 เดือน ก็ถึงดาวอังคารในวันที่ 19 ตุลาคม 2016 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานแต่ละตัวมีภารกิจและหน้าที่หลักดังนี้
Exo Mars Gas Orbiter – เป็นยานที่ใช้สื่อสารกับเจ้าหน้าที่บนโลก และในขณะเดียวกันก็ทำภารกิจวิเคราะห์แก๊ส โดยเฉพาะมีเทน ซึ่งเป็นแก๊สที่มักถูกจำกัดออกจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
Schiaparelli EDM – เป็นยานสำรวจภาคพื้นดินที่จะถูกปล่อยจากยาน Exo Mars Gas Orbiter อีกที มีภารกิจภาคพื้นดินในการวัดความเร็วลม ความชื้น ความดัน และอุณหภูมิผิวของดาวอังคาร อีกทั้งช่วยประเมินทัศนวิสัยของชั้นบรรยากาศอีกด้วย
ไม่มีสัญญาณจาก Schiaparelli EDM
ในวันที่ 19 ตุลาคม 2016 คาดการณ์ไว้ว่ายาน Schiaparelli EDM ต้องถึงพื้นผิวดาวอังคาร พร้อมกับส่งสัญญาณกลับมายังโลก แต่สุดท้ายกลับไม่มีสัญญาณบ่งชี้ใดๆว่ามันได้จอดถึงพื้นอย่างปลอดภัย
ESA ต้องขอความร่วมมือจาก NASA ให้ใช้ยานสำรวจอวกาศ Mars Reconnaissance Orbiter ถ่ายรูปในบริเวณที่เชื่อว่า Schiaparelli EDM ลงจอดอยู่บริเวณที่เรียกว่า Meridiani Planum – ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร
ทีมวิศวกรถูกเรียกประชุมอย่างเร่งด่วน เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาให้ Schiaparelli EDM กลับมาใช้ใหม่ได้ โดยพยายามใช้ Exo Mars Gas Orbiter เป็นตัวกลางในการสื่อสาร และการแก้ไขปัญหานี้ต้องรีบทำใน 4 วันของดาวอังคาร (ประมาณ 24h 37m 22.663s บนโลก หรือกล่าวง่ายๆว่า 1 วันบนดาวอังคารจะมากกว่าบนโลก 37 นาทีโดยประมาณ) ก่อนที่แบตเตอร์รี่ของยานจะหมดลง หากไม่สามารถควบคุมให้ยานไปอยู่ในบริเวณที่แสงอาทิตย์สองถึงเพื่อรีชาร์จพลังงานได้
ภารกิจต่อไปของ ExoMars จะเริ่มอีกครั้งในปี 2020 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า โดยรัสเซียจะเป็นแกนหลักในการส่งอุปกรณ์ที่สำคัญๆอย่าง Russian landing system นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อีกสองอย่างที่ใช้ในการดำเนินภารกิจ คือ Surface Platform และ ExoMars Rover
หากท่านต้องการติดตามภารกิจการกู้ยาน Shiaparelli EDM ของ ESA สามารถติดตามข่าวได้ที่ ESA.int
Read Original Article and More Detail & Media
“ExoMars.“. [Online]. via : wikipedia 2016.
“Mars Reconnaissance Orbiter.“. [Online]. via : wikipedia 2016.
“Mars_Reconnaissance_Orbiter_views_Schiaparelli_landing_site.“. [Online]. via : esa.int 2016.
คลิกที่รูปเพื่ออ่านรายละเอียด
No Responses