เทคโนโลยีของ NASA ที่มีอยู่จริงจากหนัง The Martian ภาค 4 (อ่านบทความภาค 3)
จรวดขับเคลื่อนไอออน Ion Propulsion
ในหนัง the martian ลูกเรือใช้ยานอวกาศ Hermes เดินทางไม่กี่เดือนก็ถึงดาวอังคาร โดยใช้ระบบ ion propulsion กล่าวคือเป็นไอพ่นที่พ่นไอออนอะตอมของแก๊สความเร็วสูงออกมา ซึ่งมีประสิทธิภาพในการสร้างแรงขับดันมากกว่าจรวดเชื้อเพลิงแข็ง และเชื้อเพลิงเหลวที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ สามารถทำให้ยานอวกาศเดินทางได้ยาวนานเกินกว่า 280 ล้านไมล์เลยทีเดียวโดยแรงขับดันที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการเร่งประจุของแก๊สจำพวกอาร์กอน และซีนอน และผลักออกไปด้วยสนามแม่เหล็ก โดยให้ความเร็วถึง 200,000 ไมล์ต่อชั่วโมง
ส่วนเทคโนโลยี ion propulsion นั้นตอนนี้มีอยู่จริงแล้ว โดยอยู่ในยานอวกาศในโครงการ NASA’s Dawn ซึ่งยานอวกาศ Dawn ใช้ระบบ ion propulsion มามากกว่า 5 ปีแล้ว เชื้อเพลิงก็ยังไม่หมด (เพราะเป็นระบบที่ใช้เชื้อเพลิงน้อยมาก เนื่องจากเป็นแก๊ส) โดยให้ความเร็วอยู่ที่ประมาณ 25,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งเคลื่อนที่เร็วกว่ายานอวกาศใดๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมา โดยมันมีภารกิจในการสำรวจดาวแคระ Ceres และ ดาวเคราะห์น้อย Vesta
แผงพลังงานโซลาร์ solar panels
บนดาวอังคารนั้นไม่มีแหล่งพลังงานใดๆเลย แม้กระทั่งลม ฉะนั้นพลังงานที่ได้มาเพียงแหล่งเดียวคือ พลังงานแสงอาทิตย์ ในปัจจุบันเราทราบกันดีว่าสถานีอวกาศนานาชาติ ก็มีแผงโซลาร์เซลล์ถึง 4 เซ็ตด้วยกัน ซึ่งสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ 84 ถึง 120 กิโลวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับบ้านเรือนที่ต้องใช้ไฟฟ้าถึง 40 หลัง
RTG
มากกว่า 40 ปีแล้วที่นาซ่าใช้ระบบ Radioisotope Thermoelectric Generator (RTGs) ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งใช้ในภารกิจต่างๆ 24 ภารกิจด้วยกัน เช่น ภารกิจ apollo ในการพิชิตดวงจันทร์ หรือยานอวกาศบนดาวอังคาร ที่รู้จักกันดี คือ ยานเคียวริออซิตี้ (Curiosity) ซึ่งระบบ RTGs พูดง่ายๆ ก็คือ การใช้ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นธาตุไอโซโทป เมื่อมันมีการแผร่รังสีก็ใช้พลังงานจากการแผ่รังสีแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ปกติจะใช้ธาตุ Plutonium – 238 โดยให้พลังงานถึง 110 วัตต์หรือน้อยกว่านิดหน่อย ซึ่งเป็นพลังงานเฉลี่ยที่ใช้กับหลอดไฟภายในบ้าน
Reference and More Detail & Media
“Nine Real NASA Technologies in ‘The Martian’.”. [Online]. via : NASA.gov 2015.