Credit : NASA
เป็นความเข้าใจที่ผิดว่าน้ำฝนที่ตกลงมานั้นจะมีขนาดเท่ากันเสมอ จริงๆแล้วขนาดของน้ำฝนจะแตกต่างกันออกไปตามระดับความสูง หรือปัจจัยอื่นๆ
จากความร่วมมือกันระหว่าง NASA และ Japan Aerospace Exploration Agency ทำให้สามารถสร้างโมเดลภาพ Snapshot สามมิติ ในการอธิบายการกระจายตัวของหยาดน้ำฟ้า จากรูปด้านบน สีฟ้าและเขียว แทนบริเวณหยดน้ำฝนที่มีขนาดเล็ก และสีเหลือง/แดง แทนบริเวณหยดน้ำฝนที่มีขนาดใหญ่กว่า ดังรูปข้างบน
Concept ของการศึกษานี้ คือ การใช้ข้อมูลการกระจายของขนาดหยดน้ำฝน และหยาดน้ำฟ้าอื่นๆ ในการทำนายว่าขนาดของสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อความรุนแรง ขนาด การก่อตัว และความยาวนานของพายุ ได้อย่างไร
จึงเป็นที่มาของภารกิจ GPM หรือ Global Precipitation Measurement ได้มีการส่งจรวดออกไปนอกโลกเมื่อปี 2014 โดยบรรทุกเครื่องมือสำคัญ 2 อย่างได้แก่ DPR – Dual-frequency Precipitation Radar โดยเป็นส่วนสร้างภาพสามมิติของฝนที่ตกลงมา และส่วนที่สอง คือ GMI – multi-channel GPM Microwave Imager ทำหน้าที่ประเมินการกระจายตัวของน้ำฝน ในขณะที่พื้นโลกก็จะวัดความบางเบาของน้ำฝน และหยาดน้ำฟ้าอื่นๆ ฉะนั้นเมื่อนำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม และพื้นโลก ก็จะสามารถสร้างโมเดลที่ต้องการได้
Read Original Article and More Detail & Media
“Size Matters: NASA Measures Raindrop Sizes From Space to Understand Storms.”. [Online]. via : NASA 2016.