ปี ค.ศ. 1958 เป็นปีสุดท้ายที่สหรัฐทดสอบระเบิดนิวเคลียร์นามว่า “Cactus” ภายหลังการระเบิดได้สร้างโดมปิดไว้อยู่อย่างนั้นท่ามกลางหมู่เกาะสวยงามกลางมหาสมุทรแปซิฟิก “หมู่เกาะ Marshall”
Antonio Guterres หัวหน้า UN หรือสหประชาชาติได้ให้สัมภาษณ์สื่อ และเรียกหลุมฝังกลบสารกัมมันตภาพรังสีที่ใช้ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ว่า “หลุมศพ” กองทัพสหรัฐในสมัยนั้นใช้เป็นหลุมเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีจากการทดสอบ และอ้างว่ามันปลอดภัย จนกระทั่งตอนนี้คอนกรีตหนาถึง 18 นิ้วที่ใช้กันรังสีเริ่มมีรอยร้าว!
เสี่ยงปนเปื้อนลงมหาสมุทร
เนื่องจากปากหลุมกว้างขนาด 115 เมตร และมีความลาดเอียง จึงมีความกังวลว่าสารปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีอาจไหลผ่านรอยร้าวหรือผ่านหินปะการังที่มีรูพรุน ซึ่งตอนก่อสร้างได้ใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของผนังโดม
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งระดับน้ำอาจรุกล้ำเข้ามาในเขตของโดมเมื่อไหร่ก็ได้
Jack Ading ตัวแทนของคนในพื้นที่รัฐ Marshalls เรียกโดมว่า “ปีศาจร้าย”
ภายในโดมมีสารกัมมันตรังสีอยู่มากมายรวมถึงพลูโทเนียม – 239 เป็นหนึ่งในสารพิษกัมมันตภาพรังสีที่มนุษย์รู้จักกันมากที่สุด
สัญลักษณ์หรือมรดกอันเลวร้าย?
โดมดังกล่าวภายหลังกลายเป็นสัญลักษณ์ของโครงการทดสอบนิวเคลียร์ของสหรัฐในหมู่เกาะมาร์แชลถึง 67 ครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1946 – 1958 โดยมักใช้เกาะ Enewetak และ Bikini atolls เป็นที่สถานที่ทดสอบ
ชาวเกาะและผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมในสมัยนั้นถูกบังคับให้อพยพจากดินแดนบรรพบุรุษของตัวเอง เพื่อการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ ภายหลังได้กลับมายังบ้านเกิดตัวเอง และเริ่มประสบปัญหาทางสุขภาพตามมา
ถึงแม้ภายหลังสหรัฐจะแสดงความรับผิดชอบ และเยียวยาคนในพื้นที่ แต่ก็ไม่เพียงพอกับผลกระทบที่ตามมา สหประชาชาติหรือ UN ได้ให้คำจำกัดความการกระทำของสหรัฐในเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “มรดกแห่งความคลางแคลงใจ”
เหตุที่เรื่องนี้แดงขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องด้วยเลขาธิการสหประชาชาติ Guterres ได้ยกประเด็นนี้หลังจากพบประธานาธิบดี Hilda Heine ประเทศ Fiji หลังจากการประชุมที่หมู่เกาะ Marshall
การตรวจสอบล่าสุดของการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี เกิดขึ้นเมื่อปี 2013 โดยรัฐบาลสหรัฐได้นำตัวอย่างหินตะกอนก้นทะเลสาบ Enewetak ซึ่งพบในระดับที่สูงมากแต่ผลการประเมินออกมาว่า “อาจไม่ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับปริมาณรังสีที่เพิ่มขึ้น”
John Silk รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของหมู่เกาะ Marshalls กล่าวปิดด้วยความกังวลว่า
เราหวังว่าโดมดังกล่าวจะไม่กลายเป็นหลุมฝังศพของเราในที่สุด
เพิ่มเติ่ม :
แค่การทดสอบบนเกาะ Bikini Atoll เพียงเกาะเดียวคิดเป็นจำนวน
ครั้งการทดสอบเกือบ 30 ครั้ง หรือ 15.1% ของการทดสอบนิวเคลียร์จากนานาประเทศทั่วโลก รวมพลังงานจากการระเบิดมากถึง 78.527 เมกะตัน หรือเกือบ 2,000 เท่าของระเบิดที่ลงเมือง Hiroshima และ Nagasaki รวมกัน
Sources:
[1]: “Under the dome: Fears Pacific nuclear ‘coffin’ is leaking.”. [Online]. via : phys.org 2019.
[2]: “Nuclear testing at Bikini Atoll.”. [Online]. via : wiki 2019.
[3]: “Enewetak Atoll.”. [Online]. via : wiki 2019.