บทนำ
เป็นระยะเวลาหลายปี ที่การวิจัยอาวุธนิวเคลียร์ยังคงมีแต่ข้อมูลเก่าๆ ไม่มีการค้นพบหรือการทดลองอะไรใหม่ๆ แต่ปีนี้นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มการทดลองใหม่เพื่อดูว่า “เกิดขึ้นอะไรขึ้นขณะพลูโตเนียมระเบิด (หรือจวนระเบิด)” ตามบทความ Chemicel & Engineering News (C&EN) ของนิตยสาร American Chemical Society รายสัปดาห์ การวิจัยในครั้งนี้จะทำการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของการระเบิดนิวเคลียร์ว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
Jyllian Kemsley บรรณาธิการอาวุโสแห่ง C&EN กล่าวว่าเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ภาควิชาพลังงานนี้ก่อตั้งด้วยงบ 3.5 พันล้าน ของคณะ National Ignition ที่ Lawrence Livermore National Laboratory ในรัฐ California โดยได้มีความพยายามศึกษาค้นคว้าปฏิกิริยานิวเคลียรแบบฟิวชัน ซึ่งเป็นความเป็นไปได้ที่จะควบคุมแหล่งพลังงานชนิดนี้ เพื่อให้กลายเป็นแหล่งชนิดใหม่อนาคต (เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟัวชัน ควบคุมได้ยากกว่าหรือแทบจะเป็นไปได้ยากกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิชชัน)
กระบวนการศึกษาและการนำไปใช้
การทดลองนั้นนักวิทยาศาสตร์ใช้พลูโตเนียมที่มีการปลดปล่อยรังสีได้ แต่ไม่ถึงขนาดทำให้เกิดการระเบิดทางนิวเคลียร์เหมือนในภาพยนตร์ โดยพลูโตเนียมที่ใช้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเมล็ด poppy วางไว้ระหว่างแผ่นอะลูมินัม และเพชร (เพื่อให้ความดันกับพลูโตเนียม) จากนั้นยิงเลเซอร์พลังงานสูง 16 ลำ (ภาควิชาที่นี่มีเลเซอร์พลังงานสูงถึง 192 ตัว) ตรงไปยังผิวด้านบนของ plutonium ที่ทำการทดลองเช่นนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความดันและอุณหภูมิสูงมีผลต่อการระเบิดทางนิวเคลียร์อย่างไร หากเข้าใจกระบวนการทางนิวเคลียร์ของพลูโตเนียมได้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์หรือการสืบสวนต่างๆ หากเกิดการระเบิดขึ้นจริงในอนาคต
Reference info&pics :
“Probing What happens to plutonium in a nuclear explosion.”. [Online]. Available : phys.org 2015.
“Plutonium Studies Begin At National Ignition Facility.”. [Online]. Available : cen.acs.org 2015.