กฎของนิวตันที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ คือ 1. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน และ 2. กฎความโน้มถ่วงสากล

1. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน (กฎความเฉื่อย)

            “วัตถุจะสามารถรักษาสภาพหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวในการเคลื่อนที่แนวตรงก็ต่อเมื่อ มีแรงลัพธ์ศูนย์มากระทำต่อวัตถุนั้น”

            สมการกฎข้อที่ 1

\Sigma F = 0

กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน

            “วัตถุจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์ มากระทำกับวัตถุ จะทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ ซึ่งขนาดของความเร่งจะแปรผันตรงกับขนาดแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ”

            สมการกฎข้อที่ 2

\Sigma F = ma

กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน

            “ทุก ๆ แรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากัน และทิศตรงกันข้าม”

            เงื่อนไข

1. มีขนาดเท่ากัน

2. ทิศทางตรงกันข้าม

3. กระทำในแนวเดียวกัน

4. กระทำบนก้อนวัตถุคู่เดียวกัน

หากให้  \overrightarrow{F}_{1on2} แทนแรงกิริยาที่วัตถุชิ้นที่ 1 กระทำต่อวัตถุชิ้นที่ 2

และ \overrightarrow{F}_{2on1}  แทนแรงปฏิกิริยาที่วัตถุชิ้นที่ 2 กระทำต่อวัตถุชิ้นที่ 1

ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน จะได้สมการระหว่างแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา ดังนี้

\overrightarrow{F}_{1on2} = - \overrightarrow{F}_{2on1}

หรือ \overrightarrow{F}_{2on1} = - \overrightarrow{F}_{1on2}

      เครื่องหมายลบแสดงถึงทิศทางตรงกันข้ามระหว่างแรงสองแรง แต่หากมองแค่ขนาดของแรง แรงสองแรงนี้มีขนาดเท่ากัน ตามเงื่อนไขที่กล่าวก่อนหน้านี้