เนื้อหา :
1. เวกเตอร์ในระบบพิกัดฉาก
เราทราบแล้วว่าเวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง ในทางคณิตศาสตร์เราบอกขนาดด้วยตัวเลข ส่วนทิศทางเราจะใช้สัญลักษณ์อื่นๆในการบอกทิศทาง ดังนี้
หากเวกเตอร์มีขนาด x หน่วย มีทิศทางไปทางแกน x บวก เราจะใช้สัญลักษณ์
หากเวกเตอร์มีขนาด y หน่วย มีทิศทางไปทางแกน y บวก เราจะใช้สัญลักษณ์
หากเวกเตอร์มีขนาด x หน่วย มีทิศทางไปทางแกน x ลบ เราจะใช้สัญลักษณ์
หากเวกเตอร์มีขนาด y หน่วย มีทิศทางไปทางแกน y ลบ เราจะใช้สัญลักษณ์
จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นเวกเตอร์ที่อยู่ในแนวขนานกับแกน x หรือ แกน y อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเวกเตอร์ทำมุมกับแกน x หรือ แกน y เราจะเขียนสัญลักษณ์เวกเตอร์ได้อย่างไร
สมมติ เวกเตอร์ ทำมุมกับแกน x ด้วยมุม ดังรูปที่ 1
แสดงว่าเวกเตอร์ นี้มีขนาด หรือองค์ประกอบส่วนที่อยู่ในแกน y บางส่วน และแกน x บางส่วน เมื่อเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จะได้ดังนี้
แปลความหมายได้ว่า เวกเตอร์ เกิดจากการนำเวกเตอร์ รวมกับเวกเตอร์ ตามการบวกลบเวกเตอร์ที่เราทราบก่อนหน้านี้ ดังรูปที่ 2 ด้านล่าง
2. การหาขนาดของเวกเตอร์
จากหัวข้อก่อนหน้านี้ เราจะใช้สัญลักษณ์ลูกศรชี้ไปทางขวาบนตัวอักษร แทนทิศทางของเวกเตอร์ ส่วนตัวอักษรแทนขนาดของเวกเตอร์ แต่ในการคำนวณ เราจะมักเขียนอีกรูปแบบหนึ่ง โดยแยกรูปการเขียนออกมาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บอกทิศทาง และ ส่วนที่บอกขนาด ดังนี้
การบอกทิศทางของเวกเตอร์
เราจะบอกทิศทางของเวกเตอร์โดยใช้เวกเตอร์หนึ่งหน่วย (unit vector) หมายถึง เวกเตอร์ที่มีขนาดหนึ่งหน่วย โดยใช้สัญลักษณ์
ถ้าบอกทิศทางไปทางแกน x บวก จะใช้สัญลักษณ์
ถ้าบอกทิศทางไปทางแกน x ลบ จะใช้สัญลักษณ์
ถ้าบอกทิศทางไปทางแกน y บวก จะใช้สัญลักษณ์
ถ้าบอกทิศทางไปทางแกน y ลบ จะใช้สัญลักษณ์
ดังนั้น หากเขียนเวกเตอร์ ก่อนหน้านี้ สามารถเขียนอีกรูปแบบหนึ่งได้ดังนี้
จะเห็นว่าการบอกทิศทางและขนาดจะแยกออกเป็นสองส่วน ซึ่งง่ายต่อการที่เราจะนำไปหาขนาดของเวกเตอร์ต่อไป ดังนี้
ขนาดของเวกเตอร์
ก่อนหน้าเราจะเขียนเวกเตอร์ในรูปสัญลักษณ์ คือ แต่ถ้าจะเขียนสัญลักษณ์ของขนาดเวกเตอร์ R จะเขียนโดยใช้เครื่องหมาย | | ครอบระหว่างสัญลักษณ์เวกเตอร์ใดๆ ได้ดังนี้
ขนาดของเวกเตอร์ เท่ากับ
ส่วนขนาดของเวกเตอร์จะเป็นไปตามนิยาม ดังนี้ ซึ่งหาจากการใช้ทฤษฎีบทพีธากอรัส ดังรูปที่ 3
เมื่อเวกเตอร์ใดๆ คูณด้วยตัวมันเอง หรือเขียนอยู่ในรูปยกกำลังสอง จะทำให้เวกเตอร์นั้นๆ กลายเป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีแต่ขนาด แต่เราทราบว่า เวกเตอร์ เป็นเวกเตอร์ที่มีขนาด 1 หน่วย ทำให้เทอม มีค่าเท่ากับ 1 ไปในทันที ทำให้เราสามารถลดรูปสมการได้ ดังนี้