ในปี พ.ศ. 2307 จอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า กับความต่างศักย์ไฟฟ้าในตัวนำที่มีอุณหภูมิคงที่พบว่า กระแสไฟฟ้าจะมีขนาดแปรผันตรงกับความต่างศักย์ไฟฟ้าในตัวนำนั้น ดังสมการแปรผัน

I \propto V

          เมื่อนำค่าที่ได้จากการทดลองมาพล็อตกราฟพบว่า ความชันที่ได้จะมีค่าคงที่ (k) และถูกกำหนดให้เป็นความต้านทานทางไฟฟ้า (R) ดังสมการ

\frac{V}{I} = \frac{1}{k} = R 

          โดยที่ V คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้า ในหน่วย โวลต์ (volt)

                     I คือ กระแสไฟฟ้า ในหน่วย แอมแปร์ (A)

                     R คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้า ในหน่วย โอห์ม (\Omega)

กฎของโอห์ม
อัตราส่วนความต่างศักย์ และกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำโลหะใดๆ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ จะมีค่าคงที่เสมอ ซึ่งก็คือค่าความต้านทานไฟฟ้า R Author: Einstein@min via thaiphysicsteacher.com

Previous Page : กระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ

Next Page: สภาพต้านทานไฟฟ้า