ลวดโลหะชนิดหนึ่งๆ ที่อุณหภูมิเท่ากัน แต่ความยาว l ต่างกัน เมื่อให้ความต่างศักย์ไฟฟ้า V ระหว่างปลายทั้งสองของลวด จนมีกระแสไฟฟ้า I เกิดขึ้น พบว่าอัตราส่วนระหว่าง V/I นั่นจะมีขนาดขึ้นอยู่กับความยาวของเส้นลวด
กล่าวคือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าจะมีค่ามากเมื่อลวดมีความยาวมาก แต่กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง เมื่อลวดมีความยาวเพิ่มขึ้น ดังนั้นแสดงว่า ความยาวลวดที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ความต้านทานไฟฟ้า R เพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้นจะได้สมการแปรผัน ดังนี้
และเมื่อกำหนดให้ค่าความยาวลวดโลหะคงที่ แต่เปลี่ยนพื้นที่หน้าตัด A ของลวดโลหะ พบว่าความต้านทานไฟฟ้า R หรือ อัตราส่วน V/I มีค่าผกผันซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะได้สมการแปรผัน ดังนี้
เมื่อรวมสมการแปรผันที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน จะได้สมการแปรผันใหม่ ดังนี้
และเมื่อเขียนเป็นสมการจะได้ว่า
เราจะได้ความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานไฟฟ้า (R) กับความยาว l และพื้นที่หน้าตัดของลวดโลหะ ตามสมการที่ 5 โดยมี ρ เป็นค่าคงที่ที่เรียกว่า “สภาพต้านทานไฟฟ้า” (ρ อ่านว่า โร – rho)
เนื้อหา :
อย่าสับสน!
บ่อยครั้งเรามักจะสับสนระหว่างคำว่า “ความต้านทานไฟฟ้า :R” ซึ่งมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) และ “สภาพต้านทานไฟฟ้า : ρ” มีหน่วยเป็น โอห์ม×เมตร โปรดสังเกตว่าใช้ตัวแปรต่างกัน
Previous Page: กฎของโอห์ม
Next Page: