กำลังไฟฟ้า (Electric Power) จะเกิดจากงานของการเคลื่อนที่ของประจุใดๆ เนื่องจากแรงไฟฟ้าในช่วงหนึ่งหน่วยเวลา โดยเป็นไปตามสมการดังนี้

งานทางไฟฟ้า

W=F_E.r

จาก F_E = qE

จะได้ W = qEr

และจาก \bigtriangleup{V} =Er

จะได้ W = qV --- (1)

โดยที่    W คือ งานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุ ในหน่วยจูล (J)

q   คือ ประจุไฟฟ้า ในหน่วยคูลอมบ์ (C)

\bigtriangleup{V}   คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้า ในหน่วยโวลต์ (Volt)

แต่จากกฎของโอห์ม V = IR --- (2) และสมการของกระแสไฟฟ้า I = \frac{Q}{t} ---(3) ทำให้เราสามารถเขียนงานทางไฟฟ้า W ในอีกหลายรูปแบบดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างสมการที่ (1), (2) และ (3)

W = ItV = I^2Rt = \frac{V^2t}{R} ---(4)

สมการกำลังไฟฟ้า

จากกลศาสตร์ดั้งเดิม กำลัง P นิยามไว้ ดังนี้ P = \frac{W}{t} เช่นเดียวกันกำลังไฟฟ้า P_e ก็ถูกนิยามไว้ ดังนี้

P_e = \frac{W}{t} ---(5)

จากสมการ (4) นำมาแทนใน (5) จะได้

P_e = IV = I^2R = \frac{V^2}{R}

กำลังไฟฟ้าคืออะไร

     หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพเข้าใจได้ง่าย เช่น พัดลมมีกำลัง P = 39 วัตต์ หรือในหน่วยจูลต่อวินาที หมายความว่า “ทุกๆ 1 วินาทีพัดลมจะกินพลังงานไฟฟ้าไป 150 จูล”

กำลังไฟฟ้า เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ นั้นกินพลังงานไฟฟ้าไปเท่าไหร่ในแต่ละวินาที

ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังวัตต์มาก ก็จะกินไฟมาก หรือจำนวนวัตต์น้อย ก็จะกินไฟน้อยเช่นกัน

Previous Page:  การต่อตัวต้านทานแบบขนาน

Next Page: กฎของเคอรร์ชอฟ : กฎรอยต่อ