ในช่วงกลางคืนระหว่างวันที่ 11 – 12 สิงหาคม ฝนดาวตกประจำเดือนสิงหาคม Perseids จะวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศโลกให้เป็นในทุกๆปี
ตั้งแต่มีการค้นพบดาวหาง Swift-Tuttle ตามชื่อนักดาราศาตร์ที่ค้นพบในช่วงปลายคริสต์ศักราชที่ 19 ก็ได้มีการทำนายว่าจะเกิดฝนดาวตก Perseids ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี เนื่องจากโลกโคจรผ่านเศษฝุ่นที่ปลดปล่อยจากตัวดาวหาง Swift-Tuttle และหากมองจากโลกจะสามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกนี้ได้จากกลุ่มดาวเพอซีอุส (Perseus) จึงเป็นที่มาของชื่อฝนดาวตก Perseids นั่นเอง
ปกติในทุกๆปี ฝนดาวตก Perseids จะมีอัตราการตกอยู่ที่ 50 – 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่ในปี 2016 นี้อัตราการตกจะมากกกว่าเดิม 2 เท่า หรือเกือบ 200 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นจุดพีคที่สุดตามการทำนายไว้ และจะเกิดขึ้นแบบนี้อีกครั้งในปี 2116 หรือทุกๆ 100 ปี (ย้ำว่าจะเกิดอัตราการตกสูงสุดทุกๆ 100 ปี ไม่ใช่เกิดฝนดาวตกแบบนี้ทุกๆ 100 ปี)
เราสามารถสังเกตฝนดาวตกนี้ได้จากกลุ่มดาว Perseus โดยการนอนราบ ในคืนมืดสนิท ปราศจากหมอกควันต่างๆ หรือช่วงที่ดวงจันทร์ตกขอบฟ้าไปแล้ว สำหรับประเทศไทยแนะนำให้ดูช่วงตี 3 ถึงรุ่งเช้า โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ฝนดาวตกแต่ละดวงมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงถึง 59 กิโลเมตรต่อวินาที ย้ำว่า วินาที! หรือมากกว่ารถที่เร็วที่สุดในโลกถึง 500 เท่า และขณะมันเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นระหว่าง 1,650 – 5,540 องศาเซลเซียส โดยส่วนมากจะถูกเผาไหม้จากการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจนหมดสูงเหนือพื้นดินประมาณ 50 ไมล์ และถ้ายังคงเหลือเศษมากพอก็จะตกลงสู่พื้นโลก พร้อมกับได้รับชื่อใหม่ว่า “อุกกาบาต (Meteorite)“
Read Original Article and More Detail & Media
“Look Up! Perseid Meteor Shower Peaks Aug. 11-12.”. [Online]. via : NASA 2016.
“Perseids.“. [Online]. via : wiki 2016.
“Perseid meteors: All you need to know.“. [Online]. via : earthsky.org 2016.