ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Durham และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ Harvard-Smithsonian ได้เผยภาพหลักฐานกาแล็กซีเก่าแก่ ระดับยุคแรกที่เอกภพพึ่งถือกำเนิดขึ้นไม่นาน โดยมวลสารบางส่วนโคจรรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
เหมือนกับการค้นหาโครงกระดูกมนุษย์ที่เสียชีวิตไปแล้วเมื่อ 13 ล้านปีก่อน – นักวิจัยกล่าว
กลุ่มนักวิจัยลงความเห็นว่ากาแล็กซีที่ตั้งอยู่ในกลุ่มดาว ดังต่อไปนี้ ส่วนใหญ่เป็นกาแล็กซียุคแรก
– Segue-1
– Bootes I
– Tucana II
– Ursa Major I
หลังจากเอกภพเกิดขึ้นได้ 380,000 ปี อะตอมไฮโดรเจรเริ่มถือกำเนิดขึ้น และรวมตัวกันเป็นกลุ่มเมฆของสสาร หรือ Halos อยู่ใน Phase ที่เรียกว่า “Cooling” เรียกเอกภพยุคนั้นว่า “Cosmic Dark Ages” เมื่อผ่านไป 100 ล้านปี แก๊สใน Halos เริ่มไม่เสถียรเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากการรวมตัวของแก๊ส ทำให้ใจกลางกลุ่มแก๊สรวมตัวด้วยความหนาแน่นสูงจนเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน สร้างอุณหภูมิสูงกว่า 15 ล้านเคลวิน จนกระทั่งฟอร์มตัวเป็น “ดาวฤกษ์” ในที่สุด นำแสงสว่างแรกมาสู่เอกภพ
คำอธิบายภาพ
วงสีฟ้า – แสงสว่างจากกาแล็กซีที่อายุน้อยที่โคจรรอบซึ่งกันและกัน กับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
วงสีขาว – กาแล็กซียุคแรกที่สว่างริบหรี่แทบมองไม่เห็นจากภาพ