Credit
นักวิจัยใช้ความรู้ฟิสิกส์นิวเคลียร์ในการอนุรักษ์นกน้ำในออสเตรเลีย
Kate Brandis นักวิจัยด้าน Ecosystem Science จาก UNSW and Australia Nuclear Science Technology Organisation ประเทศออสเตรเลีย มีแนวคิดที่จะใช้ความรู้ด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ในการอนุรักษ์นกน้ำในเมือง Wetland ประเทศออสเตรเลีย เธอพบว่างานวิจัยที่ผ่านๆมาบ่งชี้ว่าจำนวนนกน้ำในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่อง หากมีวิธีการใดที่สามารถระบุได้ว่านกน้ำนั้นมีถิ่นกำเนิด ผสมพันธุ์อยู่บริเวณใด ก็จะช่วยในแง่การอนุรักษ์ ป้องกันไม่ให้ถูกทำลายจนสูญพันธ์ และจะส่งผลให้สามารถรักษาระดับหรือเพิ่มจำนวนประชากรของนกน้ำได้
การติดตามถิ่นที่อยู่
ปกติการติดตามนกน้ำหรือสัตว์จำพวกบินได้ หรือย้ายถิ่นฐานบ่อยมักจะใช้วิธีการติด Track ไปกับสัตว์ชนิดนั้นๆ แล้วดูการอพยพผ่านดาวเทียม เนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้ต้นทุนสูง เธอจึงไม่สนใจและหันมาพึ่งการใช้ความรู้จากธาตุกัมมันตรังสี หรือธาตุไอโซโทปแทน กล่าวคือ ธาตุไอโซโทปจะมีช่วงอายุการสลายตัว ปลดปล่อยรังสีออกมา และมีลักษณะเฉพาะ ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือที่ไม่แพงมากนัก
ธาตุไอโซโทปช่วยได้
วิธีการที่เธอใช้ก็คือ หนึ่งเริ่มจากศึกษาองค์ประกอบของขนนกน้ำในช่วงแรกเกิดว่ามีองค์ประกอบธาตุอะไรบ้าง และสอง ตรวจสอบว่ามีธาตุกัมมันตรังสี หรือไอโซโทปใดเป็นส่วนประกอบซึ่งส่วนใหญ่ คือ Carbon-13 และ Nitrogen-15 และใช้วิธีสองอย่างนี้รวมกันเพื่อระบุได้ว่านกน้ำนั้นมีถิ่นที่อยู่อาศัยและผสมพันธุ์ในบริเวณใด (นกน้ำแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างขององค์ประกอบของธาตุในขนแรกเกิดต่างกันออกไป) วิธีการนี้ได้ทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2010 – 11 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สาเหตุที่วิธีนี้ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากธรรมชาติของนกน้ำเมื่อตัวเต็มวัยก็จะไม่มีการผลัดขนอีก
(ขนแรกเกิด กับขนตัวเต็มวัยจะมีองค์ประกอบต่างกันทั้งกายภาพและทางเคมี แต่นักวิจัยจะโฟกัสไปที่ขนแรกเกิดเนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ว่านกน้ำเกิดที่ใด)
การสร้าง Feather Map
ข้อจำกัดของวิธีการนี้ก็คือ ลำพังแค่นักวิจัยเพียงอย่างเดียวในการเก็บข้อมูลก็คงไม่ไหว เพราะนกน้ำมีจำนวนมากเกินไป เธอจึงมีแนวคิดว่าอาจขอความร่วมมือจากสมาชิกที่ติดตามงานวิจัย และคนในท้องถิ่นให้ช่วยส่งตัวอย่างขนนกและสถานที่ที่เก็บได้ เพื่อนำมาสร้าง Feather Map
การใช้เทคนิคไฮโซโทปนี้เธอได้รับแรงบันดาลใจจากงานวิจัยในการระบุตำแหน่งเฉพาะของผีเสื้อ Monarch ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งใช้เทคนิคไม่ต่างกันมากนัก
Read the full article on The Conversation
“Australia’s waterbirds are disappearing – but nuclear physics can help save them.“. [Online]. via : Author, 2016.