หากพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังทั้งหลาย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มักจะถูกพูดถึงเป็นคนแรก แต่หากถามว่า “รู้จักนิโคลา เทสลาหรือไม่” หลายคนอาจเอียงคอสงสัยไปสักพักหนึ่ง
ประวัติโดยย่อของนิโคลา เทสลา
เทสลาเกิดในโครเอเชีย ปี ค.ศ. 1856 ท่ามกลางสภาพอากาศในช่วงนั้นเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง หมอที่ทำคลอดกล่าวว่า “Your new son is a child of the storm.” วัยเด็กเทสลามีความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก เก่งจนครูคิดว่าเขาโกงทุกครั้งที่มีการสอบ
เทสลาทำตามความต้องการของพ่อที่จะให้เป็นบาทหลวง และขณะเดียวกันก็ได้เรียนในโรงเรียนสอนวิศวกรรม
ปี ค.ศ. 1884 เทสลาย้ายมาอยู่สหรัฐอเมริกา และได้ทำงานที่บริษัทของโทมัส เอดิสัน เจ้าพ่อระบบไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) อยู่ที่นี่เทสลาได้ขอเสนอว่าหากทำผลงานในการพัฒนาระบบทางวิศวกรรมให้กับบริษัทเอดิสันได้ จะได้รับเงิน 80,000 ดอลลาร์ แต่สุดท้ายข้อเสนอนั้นเป็นเรื่องตลก ทำให้เขาไม่พอใจอย่างมาก
เมื่อการทำงานในบริษัทของเอดิสันไม่ตรงกับทัศนคติของตัวเอง เทสลาจึงลาออกหลังจากทำงานมาได้เพียง 6 เดือน หลังจากนั้นเขาไปตั้งบริษัทใหม่กับนักธุรกิจที่ไว้ใจได้ ในชื่อว่า Tesla Electric Light and Manufacturing
สงครามกระแสไฟฟ้า (The Current War)
ปี ค.ศ. 1887 เทสลาได้สร้างห้องทดลองในแมนแฮตตัน ร่วมกับนักลงทุนและผู้ประกอบการนามว่า จอร์จ เวสทิงเฮาส์ (George Westinghouse) เพื่อพัฒนามอเตอร์เหนี่ยวนำกระแสสลับ (Alternating Current Induction Motor) นั่นหมายถึงว่าสงครามระหว่างกระแสตรงและกระแสสลับได้เกิดขึ้นแล้ว (War of the Currents)
ไม่ช้าเอดิสันได้โปรโมทกระแสตรง (DC) ของตัวเองอย่างหนัก โดยเน้นโฆษณาระบบไฟฟ้ากระแสตรงนั้นมีความปลอดภัยมากกว่าระบบกระแสสลับ (เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลไม่ครบวงจร หรือหากพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ถ้าเอานิ้วจิ้มรูปลั๊กกระแสตรง เราจะไม่ถูกไฟฟ้าช็อต แต่ถ้าเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ จิ้มเพียงรูเดียวก็ตายได้ครับ)
ทางด้านกระแสสลับ (AC) ของเทสลาก็ชูจุดที่กระแสตรง (DC) ทำไม่ได้ดีเท่าก็คือ การส่งกระแสไฟฟ้าไปยังที่ห่างไกล
กระแสตรงจะมีขีดจำกัดของการส่งกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 2 ไมล์ หรือราว 3.2 กิโลเมตร ถ้าอยากส่งได้ไกลต้องตั้งสถานีเป็นช่วง ๆ ทำให้ต้องใช้งบประมาณสูงมากขึ้นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะไกล
แต่กระแสสลับอาศัยการเหนี่ยวนำระหว่างแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า หรือใช้หม้อแปลงไฟฟ้าทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ลดต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้า
หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับของเทสลา ทำให้การขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ สังคมของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากกว่ากระแสงตรงของเอดิสัน นั่นหมายถึงว่าสังคมของมนุษย์ก้าวกระโดดมาถึงทุกวันนี้ได้ เพราะมีระบบไฟฟ้ากระแสสลับซัพพอร์ทกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อยู่เบื้องหลังนั่นเอง
> เอกสารสิทธิบัตรมอเตอร์เหนี่ยวนำกระแสสลับ
ในปี ค.ศ. 1891 เทสลาได้ออกแบบอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก เรียกว่า เทสลาคอยล์ (Tesla Coil) อาศัยหลักการ Resonant ภายในหม้อแปลงของวงจรกระแสสลับ (DC ทำไม่ได้) เพื่อที่จะสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าในระดับสูงมาก ๆ แต่กระแสไฟฟ้าต่ำ
เทสลาคอยล์ของเทสลา ทำให้มนุษย์สามารถสาธิตและศึกษาปรากฏการณ์อย่างฟ้าผ่าในธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด ควบคุมได้ ในการทดลองช่วงต้น เทสลาคอยน์ปล่อยสนามไฟฟ้ากระจายออกไปในวงกว้างจนทำให้หลอดไฟหลายร้อยอันติดได้โดยไม่ต้องใช้สายไฟ
ภายหลังหลักการทำงานของเทสลาคอยล์นำไปใช้พัฒนาระบบส่งสัญญาณวิทยุระยะไกล แต่ในปี ค.ศ. 1909 Guglielmo Giovanni Maria Marconi วิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลีได้จดสิทธิบัตรการส่งสัญญาณวิทยุระยะไกล และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1909 ซึ่งเทสลาอ้างสิทธิ์ว่าสิทธิบัตรดังกล่าวควรเป็นของเขา
ส่วนในด้านทางการแพทย์ก็ได้นำไปพัฒนาเครื่องมือบำบัดด้วยไฟฟ้า (Electrotherapy) สำหรับการวิเคราะห์โรคทางระบบประสาทในสมองส่วนลึกอีกด้วย
หรือแม้กระทั่งใช้การ spark ของสนามไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากเทสลาคอยล์เพื่อสร้างสรรค์เสียงดนตรีที่แปลกใหม่
ฉากเทสลาคอยล์ในหนัง Sorcerer’s Apprentice การสปาร์คทำให้อากาศแตกตัวกลายเป็นเสียงตามที่กำหนด โดยในหนังได้เล่นเป็นเพลง Secrets ของ OneRepublic
พัฒนาระบบเรดาร์
เทสลายังมีส่วนในการพัฒนาระบบการตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยเรดาร์อีกด้วย โดยในปี ค.ศ. 1886 Heinrich Hertz ได้สาธิตการสะท้อนของคลื่นวิทยุต่อมาในปี ค.ศ. 1904 Hülsmeyer นักวิศวกรชาวเยอรมันในการตรวจจับเรือที่อยู่ท่ามกลางหมอกหนาทึบได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ จนกระทั่งเทสลาพัฒนาจนสำเร็จในปี ค.ศ. 1917 แต่ภายหลัง Lawrence A. Hyland วิศวกรไฟฟ้าชาวสหรัฐจดสิทธิบัตรเรดาร์ชนิดคลื่นต่อเนื่องสำหรับตรวจจับเครื่องบินได้สำเร็จใน ปี ค.ศ. 1934
เทสลานับว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีทั้งความสามารถ เป็นนักประดิษฐ์ของสุดว้าวหลายชิ้น และก็น่าเห็นใจเป็นอย่างมากเช่นกัน ไม่แปลกที่เขามักถูกเรียกว่า “เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โลกลืม” ที่ผลงานตัวเองมักถูกใครต่อใครนำไปพัฒนาและชิงจดสิทธิบัตรก่อนหลายต่อหลายชิ้น
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเทสลาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ Teleforce เชื่อกันว่าสามารถทำลายเครื่องบินจากระยะไกลกว่า 250 ไมล์ได้ เสมือนเป็นปราการป้องกันประเทศ และขอให้สหรัฐเร่งพัฒนา หนึ่งปีต่อมาเขาเสียชีวิตจากอาการหัวใจล้มเหลวในวัย 86 ปี กล่าวกันว่า FBI ได้จัดเก็บข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของเทสลาไว้อย่างลับที่สุด
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนิโคลา เทสลา
- นิโคลา เทสลาพูดได้ถึง 8 ภาษา
- ในวัยเด็กเทสลาทุกข์ทรมาณจากโรคย้ำคิดย้ำทำ ข้อมูลบางที่อ้างว่าเขาจะตื่นตัวและตกใจกับสภาพแวดล้อมรอบตัวอยู่เสมอ เลยทำให้เขาไม่ชอบแตะเนื้อต้องตัวใคร หรือให้ใครมาถูกตัว ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้เขาไม่ค่อยสนใจการมีครอบครัวหรือผู้หญิง
- มีส่วนช่วยพัฒนาและประดิษฐ์หลอดไฟฟลูออเรสเซนท์
- ประดิษฐ์มอเตอร์ที่หมุนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ
- มีสิทธิบัตรประมาณ 300 ชิ้น (บางที่กล่าวว่าเขาอาจมีมากถึง 700 ชิ้น)
- มีส่วนช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายทางไกล (Wireless Communication over long distances) ปัจจุบันโลกต้องขอบคุณเทสลาที่ทำให้การสื่อสารบนโลกเข้าถึงได้ในไม่กี่วินาที รวมทั้งการควบคุมยานสำรวจอวกาศจากนอกโลก
- ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการตั้งชื่อหน่วยของปริมาณสนามแม่เหล็ก (B) เป็น Tesla : T เพื่อเป็นเกียรติแก่นิโคลา เทสลา
ยังไม่จบ ถ้าอ่านแล้วมองไม่เห็นภาพ แอดมินแนะนำหนังเรื่อง
“TESLA เทสลา คนล่าอนาคต เข้าฉาย 24 กันยายนนี้ครับ” 😛
ตัวอย่างหนัง
เรื่องย่อ
ปล่อยตัวอย่างออกมาให้แฟนๆได้ชมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับหนังดราม่าย้อนยุคสุดคูล “TESLA เทสลา คนล่าอนาคต” ภาพยนตร์ที่จะพาผู้ชมร่วมสำรวจทุกเส้นทางชีวิตที่ผ่านการกลั่นกรองของ นิโคลา เทสลา สุดยอดอัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้คิดค้นและพัฒนาทฤษฎีไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) อันเป็นรากฐานของระบบไฟฟ้าที่ใช้งานทั่วโลกในปัจจุบัน กับเรื่องราวที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้งระหว่างเขากับคู่ปรับคนสำคัญ อย่าง ทอมัส อัลวา เอดิสัน ตลอดจนความสัมพันธ์กับ แอนน์ มอร์แกน ลูกสาวของ เจ.พี.มอร์แกน นายทุนยักษ์ใหญ่แห่งเจเนอรัลอิเล็กทริก รวมถึงเบื้องลึกของกระบวนการพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ที่ภายหลังได้รับการต่อยอดทางเทคโนโลยีจนเกิดเป็นโลกยุคดิจิทัลอย่างในเวลาต่อมา
หนังได้ อีธาน ฮอว์ค นักแสดงมือเก๋ามากความสามารถ ผู้เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้วถึง 4 ครั้ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าของบทบาทที่โลกจดจำจากหนังรักโรแมนติกไตรภาคชุด Before Trilogy: Before Sunrise (1995), Before Sunset (2004), Before Midnight (2013) มารับบทเป็น นิโคลา เทสลา นักประดิษฐ์ผู้ถือเป็นต้นกำเนิดแห่งเทคโนโลยีในยุคศตวรรษที่ 21 และนำพาโลกสู่ยุคดิจิทัล นี่คือเรื่องราวของ “ชายผู้มาก่อนกาล” ชายที่ไม่ว่าล้มเหลวกี่ครั้ง ก็ยังมองไปข้างหน้า และตั้งเป้าสู่อนาคต
ภาพยนตร์ถ่ายทอดเส้นทางชีวิตครอบคลุมระยะเวลาประมาณ 15 ปีของชีวิต นิโคลา เทสลา ผ่านคำบรรยายของ แอนน์ มอร์แกน (รับบทโดย อีฟ ฮิวสัน) ทั้งในแง่มุมความของสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ความเพ้อฝัน ความหลงใหล และความทะเยอะทะยาน รวมถึงประเด็นจากฝั่งของแอนน์ มอร์แกน ผู้ซึ่งรักและพยายามช่วยเทสลาให้เอาชนะตนเองจนนำไปสู่เส้นทางความสำเร็จ ขณะที่เทสลานั้นกลับไม่ค่อยสนใจและห่วงใยต่อแอนน์เท่าที่ควร จนทำให้เกิดคำถามหลักตามมาว่า แท้จริงแล้วเทสลาต้องการมองหา ผู้สนับสนุนให้เงินลงทุน หรือ ภรรยา ที่จะคอยอยู่เคียงข้างกันแน่“TESLA เทสลา คนล่าอนาคต”เขียนบทและกำกับโดย ไมเคิล อัลเมอร์เรย์ดา นำแสดงโดย อีธาน ฮอว์ค เป็น นิโคลา เทสลา, ไคล์ แม็คลาชแลน เป็น ทอมัส เอดิสัน, จิม แกฟฟิแกน เป็น จอร์จ เวสติงเฮ้าส์, อีฟ ฮิวสัน เป็น แอนน์ มอร์แกน, ดอนนี่ คีชาวาร์ซ เป็น เจ.พี.มอร์แกน, อำนวยการสร้างโดย ยูรี ซิงเกอร์, คริสต้า แคมป์เบลล์
ถ้าไม่มีเขา ก็ไม่มีคำว่าโลกดิจิทัล
“TESLA เทสล่า คนล่าอนาคต”
24 กันยายนนี้ ในโรงภาพยนตร์