หลังจากยาน New Horizons ได้สำรวจดาวพลูโตจนนักวิทยาศาสตร์เป็นที่พอใจแล้ว ภารกิจต่อไปของมันคือ การสำรวจวัตถุในแถบคอยเปอร์ (Kuiper Belt Object)
วัตถุในแถบคอยเปอร์ (Kuiper Belt Object)
ย้อนไปในปี 1992 นักดาราศาตร์เชื้อสายดัทช์และอเมริกัน นามว่า Gerard Kuiper ได้ทำนายว่าอาจจะมีวัตถุในแถบคอยเปอร์ (Kuiper Belt Object :KBO) อยู่ จนกระทั่งเราค้นพบพลูโต (พลูโต ถือว่าเป็นวัตถุในแถบคอยเปอร์ ไม่ใช่ดาวเคราะห์) ซึ่งแถบนี้มีลักษณะเหมือนเข็มขัดล้อมรอบดวงอาทิตย์ของเรา ดังรูปด้านล่าง ประกอบไปด้วยวัตถุ KBO มากกว่า 100,000 ดวง มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 100 กิโลเมตร และเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดดาวหางที่พุ่งเข้ามายังภายในของระบบสุริยะ
- Gerard Kuiper Credit Gelderen, Hugo van / Anefo via wiki
- วัตถุในแถบคอยเปอร์จำนวนมาก (จุดสีฟ้า) Credit Alex Parker via wiki
- ตำแหน่งของวัตถุในแถบคอยเปอร์ Credit WilyD via wiki
วัตถุ KBO ที่จะสำรวจมีชื่อว่า “2014 MU69”
ภารกิจการสำรวจของยาน New Horizons มีเป้าหมายการเดินทาง คือ วัตถุ KBO ที่มีชื่อว่า “2014 MU69” ซึ่งอยู่ห่างจากดาวพลูโตประมาณ 1 พันล้านไมล์ ถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ในวันที่ 26 มิถุนายน 2014 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 45 กิโลเมตร
คลิกที่รูปด้านล่างเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว
ภารกิจนี้อาจใช้เวลามากกว่า 5 – 6 เดือน
หากเริ่มนับเวลาตั้งแต่วันนี้ ยาน New Horizons ต้องใช้เวลามากกว่า 5 – 6 กว่าจะถึงวัตถุ KBO “2014 MU69” ซึ่งนาซ่าคาดว่าจะเดินทางไปถึงในวันที่ 1 มกราคม 2019 ปีหน้า ซึ่งขึ้นปีใหม่พอดี (เหมือนตั้งใจ) และเมื่อถึงตอนนั้นยาน New Horizons ก็อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปแล้วกว่า 43.4 AU หรือประมาณ 6,500 ล้านกิโลเมตร
Reference and More Detail & Media
“NASA’s New Horizons Team Selects Potential Kuiper Belt Flyby Target.”. [Online]. via : NASA.GOV 2015.
“Kuiper Belt“. [Online]. via : wikipedia 2015.
“2014 MU69“. [Online]. via : Wikipedia 2015.