โรคฮันติงตัน และโรคพาร์กินสัน นอกจากจะนำมาซึ่งความเจ็บปวดทางร่างกายที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ดั่งใจ เนื่องจากการเสื่อมของสมองและระบบประสาท และอาจทำให้เกิดโรคทางจิตเวช (ผลทางจิตใจและพฤติกรรม) ได้อีกด้วย
ทั้งสองโรค รวมทั้งอัลไซเมอร์ล้วนเป็นโรคทางระบบประสาทที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
MicroRNA ของหนอนโบราณอาจเป็นความหวังใหม่ในการรักษา
นักวิจัยจากสถาบัน Monash Biomedicine Discovery (BDI) นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Roger Pocock และลูกศิษย์ของท่าน David Rubinsztein ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Cambridge พบว่า
“microRNAs มีส่วนสำคัญในการควบคุมการรวมตัวของโปรตีนที่ก่อให้เกิดโรคอย่างฮันติงตัน และพาร์กินสัน”
microRNA เป็นสารพันธุกรรมเส้นสั้น ๆ และมีขนาดเล็ก แต่เป็นโมเลกุลที่มีบทบาทมหาศาลในการควบคุมยีนมากมายในคราวเดียวกัน กลุ่มนักวิจัยพบว่า microRNA-1 : miR-1 จะถูกตรวจพบน้อยในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองและระบบประสาทเสื่อม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Roger Pocock กล่าวว่า
“ลำดับพันธุกรรมของ miR-1 แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากมันเป็บลำดับเดียวกันกับที่พบในหนอน Caenorhabditis elegans และพบในมนุษย์อีกด้วย เชื่อว่าแยกสายวิวัฒนาการออกมาเมื่อ 600 ล้านปีก่อน”
“เมื่อลบ miR-1 กระบวนการ Autophagy จะไม่เหมือนเดิม การก่อตัวของโปรตีนทีก่อให้เกิดโรคฮันติงตันเพิ่มสูงขึ้นในหนอนพวกนั้น”
(หมายเหตุ – Autophagy คือ กระบวนการที่ร่างกายกำจัดเซลล์ที่เสียหาย เพื่อเตรียมให้เกิดการสร้างเซลล์ที่ใหม่กว่า (Healthier cells) ถือเรียกได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของการถนอมตัวเอง (Evolutionary self – preservation)
ดังนั้นการมีอยู่ miR-1 ถือเป็นเรื่องสำคัญต่อเซลล์
ศาสตราจารย์ Rubinsztein หนึ่งในนักวิจัยร่วมมีความสนใจ miR-1 เป็นอย่างมากและได้เตรียมวิจัยต่อยอดเพื่อค้นหาแนวทางในการนำ microRNA มาควบคุมกระบวนการ Autophagy ในเซลล์มนุษย์
“ถือได้ว่าเป็นหนทางใหม่ในการควบคุมการรวมตัวของโปรตีน และถือได้ว่าเป็นวิธีที่มีศักยภาพเป็นอย่างมากในการบรรเทาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท”
ทั้งนี้นักวิจัยได้จดสิทธิบัตรงานวิจัยนี้แล้ว และกำลังหารือกับบริษัทยาเพื่อเตรียมนำไปทดสอบโมเดลการรักษาสำหรับโรคฮันติงตันและพาร์กินสันในอนาคต
Bottom line :
หนอน Caenorhabditis elegans เป็นหนอนในไฟลัมนีมาโทดามีความโปร่งใส ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรอยู่ในดินเขตอบอุ่น กินแบคทีเรียบางชนิดเป็นอาหาร (ในรูป คือ C. Elegans ถูกเลี้ยงในจานเพาะเชื้อที่เต็มไปด้วยแบคทีเรีย)
ถูกนำมาวิจัยทางอณูชีววิทยาและชีววิทยาการเจริญ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 โดยนักวิจัย Sydney Brenner และหนอน C. elegans ถือได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ชนิดแรกที่จีโนมของมันถูกถอดรหัสออกมาได้อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2002 โดยมีความหนาแน่นของยีนประมาณ 1 gene/5kb
หนอน C. elegans ได้ถูกพูดถึงบ่อยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2003 จากโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เพราะมันรอดจากอุบัติเหตุใหญ่ครั้งนั้นได้ ทั้งนี้หนอน C. elegans ถูกนำไปทดลองที่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อศึกษาสภาพไร้น้ำหนักต่อพัฒนาการของกล้ามเนื้อ
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] Ancient worm reveals way to destroy toxic cells in Huntington’s disease. phys.org, 2019 : https://phys.org/…/2019-12-ancient-worm-reveals-toxic-cells…
[2] Working with Worms: Caenorhabditis elegans as a Model Organism. wiley.com, 2019 : https://currentprotocols.onlinelibrary.wiley.com/…/…/cpet.35
[3] Caenorhabditis elegans. wiki.org, 2019 : https://th.wikipedia.org/wiki/Caenorhabditis_elegans
[4] โรคพาร์กินสัน รู้เร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า. bumrungrad.com, 2019 : https://www.bumrungrad.com/…/better-brain…/parkinson-disease
[5] โรคฮันติงตัน. wiki.org, 2019 : https://th.wikipedia.org/…/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B…
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys