มาลาเรีย หรือไข้จับสั่นเกิดจากการติดปรสิตชนิดตระกูล Plasmodium และร่างกายมีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมา ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด มาลาเรียสร้างผลกระทบไปทั่วโลกโดยเฉพาะทวีปแอฟริกา
นักวิจัยจากเมือง Rodeville รัฐ Maryland สร้างความหวังใหม่ในการรักษามาลาเรีย โดยการผลิตวัคซีนคุณภาพสูง โดยสกัดปรสิตจากตัวอย่างยุงกว่า 1 แสนตัวที่มีเชื้อมาลาเรีย เพื่อนำมาใช้ในการทดลองหาสารประกอบที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าปรสิต Plasmodium
ก่อนหน้านี้มาตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Science โดยนำตัวอย่างปรสิตมาใส่ในหลอดทดลองที่มีสารประกอบที่เชื่อว่าสามารถฆ่าปรสิต Plasmodium ถึง 500,000 หลอดเลยทีเดียว จนกระทั่งพบสารประกอบมากถึง 631 ชนิดที่เข้าข่ายและมีศักยภาพฆ่าปรสิต รวมเวลาวิจัยกว่า 6 ปี
ถ้าคุณสามารถหายาที่ออกฤทธิ์ในวันเดียว โดยการฉีดเข้าไปเพียง 1 โดส และฆ่าปรสิตมาลาเรียในคนได้ในเวลา 3 – 6 เดือนได้ คงดีไม่น้อย ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีความเป็นไปได้เลย จนกระทั่งตอนนี้เราเกือบทำสำเร็จแล้ว — Lary Slutsker ผู้นำวิจัยในโครงการ PATH’s Malaria and Neglected Tropical Diseases (NTDs)
David Reddy CEO จาก Medicines for Malaria Ventures กล่าวเสริมว่าจำนวนการให้โดสยานั้นสำคัญมาก ยิ่งน้อยได้ยิ่งดี หากเด็ก ๆ ที่ได้รับยารู้สึกดีขึ้น ไข้ลดลง แต่เมื่อให้ยาโดสที่สองแล้วเด็กอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจเกิดความเสี่ยงว่าเชื้อเริ่มดื้อยา แล้วเราต้องเริ่มหาวิธีจัดการปรสิตด้วยตัวอย่างยาใหม่ ๆ
อาการติดเชื้อปรสิตมาลาเรีย
ตามที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับเชื้อปรสิตจากยุงตัวเมีย (ตัวผู้จะไม่กัดเหยื่อเพื่อกินเลือด) ปรสิตจะแพร่ผ่านน้ำลายยุงผ่านกระแสเลือดและเข้าสู่ตับ ปกติตับจะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคได้ แต่กับปรสิต Plamodium ถือว่าแทบไม่ได้เลย
หลังจากนั้นปรสิตจะเริ่มขยายจำนวนประชากรในเวลา 2-3 สัปดาห์ แล้วเกิดการกระจายตัวไปตามกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดอาการ ได้แก่
- ไข้จับสั่น
- ปวดหัว
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- เหงื่อออกตามตัว
หากไม่รักษาจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง หายใจติดขัด และเสียชีวิตในที่สุด
สถิติเกี่ยวกับการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์
องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ได้ประเมินสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดเชื้อมาลาเรียไว้ดังนี้
- ในแต่ละปีทั่วโลกสูญเสียเงินที่ใช้จัดการกับการติดเชื้อมาลาเรียถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ประเทศเสียความสามารถในการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว (โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นป่าไม้)
- ในปี พ.ศ. 2556 มีผู้ติดเชื้อมากถึง 198 ล้านคน
- ผู้เสียชีวิตประมาณ 584,000 – 855,000 คน ในแต่ละปี ส่วนใหญ่ 90% มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปแอฟริกา
- ปี 2017 – มีผู้เสียชีวิตจากมาลาเรีย 435,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก
- วัคซีนชุดแรกสำหรับเด็ก ชื่อว่า RTS,S จะส่งกระจายไป 3 ประเทศในทวีปแอฟริกา ในปี 2019 ถึงแม้ว่าหากได้รับประมาณ 4 โดสจะลดความเสี่ยงได้ 40% ก็ตาม
Read Original Article and More Detail & Media
“Y. Antonova-Koch el al., “Open-source discovery of chemical leads for next-generation chemoprotective antimalarials,” Science (2018).
“Malaria.”. [Online]. via : wiki 2018.