ตามสถิติพบว่าหากผู้ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะที่ 1 จะมีอัตราการหายถึง 90% นี่คือคีย์สำคัญที่ว่าเราจะหาวิธีวินิจฉัยอันรวดเร็วได้อย่างไร
ในแต่ละปีจะมีรายงานผู้ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ในสหราชอาณาจักรประมาณปีละ 7,500 ราย
35% มีชีวิตยืนยาวเฉลี่ยมากกว่า 5 ปีกว่าที่คาดไว้ และผู้ป่วยในระยะที่ 1 จะมีโอกาสรอดถึง 90% การหาวิธีการตรวจและคัดกรองมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด
เทคนิค Single Cell RNA Sequencing
แต่เดิมการตรวจหามะเร็งจะมองหา “กลุ่มเซลล์” ที่ผิดปกติ แต่เทคนิค Single Cell RNA Sequencing จะเสมือนสแกนความผิดปกติของ RNA ในเซลล์แต่ละเซลล์เลยทีเดียว
โดยเซลล์เป้าหมายจะเป็นเซลล์บริเวณท่อนำไข่ ซึ่งเป็นท่อลำเลียงไข่จากรังไข่มายังมดลูก และท่อนำไข่เป็นบริเวณที่มักจะตรวจพบมะเร็งอยู่เสมอ
หากเทคนิคนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถตรวจหามะเร็งรังไข่ได้แม่นยำยิ่งขึ้น จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้หญิงได้หลายพันคนได้ในแต่ละปี
นอกจากนี้นักวิจัยเชื่อว่าเทคนิคดังกล่าวจะสามารถพัฒนาต่อยอดไปใช้รับมือกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย
สถิติมะเร็งรังไข่ในประเทศไทย
- มะเร็งรังไข่พบมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก (ในผู้หญิง)
- แต่ละปีตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 2,700 ราย
- ร้อยละ 53 เสียชีวิตจากมะเร็งรังไข่ หรือประมาณครึ่งต่อครึ่ง อัตราเสียชีวิตจากมะเร็งรังไข่เป็นรองจากมะเร็งปากมดลูก
- ส่วนใหญ่ผู้ป่วยร้อยละ 70 จะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งรังไข่ ก็มักพบว่าอยู่ในระยะที่ 3 หรือ 4 แล้ว
จะเห็นว่าการตรวจพบตั้งแต่ระยะที่ 1 จึงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับผู้ได้รับวินิจฉัยมีโอกาสรอดได้สูงสุด
อาการ
อาการของมะเร็งมีได้หลายสัญญาณ ไม่เจาะจง หากมีอาการเหล่านี้เกิน 2 สัปดาห์หรือรู้สึกว่าร่างกายผิดปกติไปจากเดิมควรปรึกษาแพทย์
- ปวดอุ้งเชิงกราน
- แน่นท้อง อิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร
- ท้องผูกเรื้อรัง
- ปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่อยู่
- ท้องโตขึ้น คลำแล้วพบว่าเหมือนมีก้อนในช่องท้อง
ข้อมูลสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ :
เข้าถึงงานวิจัยได้ที่ The repertoire of serous ovarian cancer non-genetic heterogeneity revealed by single-cell sequencing of normal fallopian tube epithelial cells
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] Scientists closer to finding the cell of origin for ovarian cancer. medicalxpress, 2020 : https://medicalxpress.com/news/2020-02-scientists-closer-cell-ovarian-cancer.html
[2] Whisper of Ovary. chulabhornhospital, 2020 : http://www.chulabhornhospital.com
[3] มะเร็งรังไข่. med.mahidol, 2020 : https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/protfolio/knowledge/gyne/ovary
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys