ในเดือนมิถุนายน ปี 2016 IUPAC หรือ International Union of Pure and Applied Chemistry หรือรู้จักในชื่อไทยว่า “สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ” ได้เสนอชื่อใหม่ในตารางธาตุ 4 ธาตุ ดังนี้
อูนอูนเทรียม (Ununtrium: Uut) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า “เอกา-แทลเลียม (eka-thallium)” มีเลขอะตอม 113 เปลี่ยนเป็นชื่อ “นิโฮเนียม” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Nh ชื่อ นิโฮเนียม เป็นชื่อที่มีรากศัพท์มาจากการเรียกชื่อประเทศญี่ปุ่นในภาษาญี่ปุ่น
อูนอูนเพนเทียม (Ununpentium: Uup) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า “เอกา-บิสมัท (eka-bismuth)” เป็นธาตุกัมมันตรังสีหนักมาก (Superheavy) มีเลขอะตอม 115 เปลี่ยนเป็นชื่อ “มอสโกเวียม” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Mc ชื่อ มอสโกเวียม เป็นชื่อตามมณฑลมอสโก (Moscow Oblast) ที่สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ตั้งอยู่
- อูนอูนเซปเทียม (Ununseptium: Uus) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า “เอกา-แอสทาทีน” (eka-astatine) มีเลขอะตอม 117 เปลี่ยนเป็นชื่อ “เทนเนสซีน” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Ts ชื่อ เทนเนสซีน เป็นชื่อรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อ 2010 โดยนักวิทยาศาสตร์ในโครงการการร่วมมือระหว่างรัสเซีย-อเมริกาที่เมืองดุบนา ประเทศรัสเซีย
- อูนอูนออกเทียม (Ununoctium: Uuo) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า “เอคา-เรดอน” มีเลขอะตอม 118 ซึ่งเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมมากที่สุดในปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นชื่อ “โอกาเนสซอน” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Og ชื่อ โอกาเนสซอนซอน” มาจากชื่อนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวรัสเซีย ยูริ โอกาเนสเซียน ตั้งแต่พบเมื่อปี 2002 ถึงปัจจุบันก็สังเคราะห์ได้เพียง 3 อะตอมเท่านั้น! อะตอมแรกพบเมื่อปี 2002 และอีก 2 อะตอมพบเมื่อปี 2005 โดยคณะวิจัยจากสถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ ดุบนา สหพันธรัฐรัสเซีย
ชื่อ อูนอูน- เป็นชื่อชั่วคราวที่ IUPAC ตั้งให้กับธาตุที่พึ่งค้นพบได้ไม่นาน และธาตุที่มีเลขอะตอมสูงมักจะเป็นธาตุสังเคราะห์ และอาจไม่สามารถพบได้ในธรรมชาติ
Read Original Article and More Detail & Media
“อูนอูนเทรียม.“. [Online]. via : wiki 2016.
“อูนอูนเพนเทียม.“. [Online]. via : wiki 2016.
“อูนอูนเซปเทียม.“. [Online]. via : wiki 2016.
“อูนอูนออกเทียม.“. [Online]. via : wiki 2016.
“ตารางธาตุ.”. [Online]. via : wiki 2016.