เป็นเวลากว่า 9 ปี กับการเดินทางกว่าสามพันล้านไมล์ถึงดาวพลูโต ยานอวกาศ New Horizons ก็ได้ส่งภาพถ่ายมายังโลก โดยเป็นภาพดาวพลูโตใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เช้าวันที่ 8 กรกฎาคม 2015 นักวิทยาศาสตร์ได้รับภาพถ่ายของดาวพลูโตจากระบบ LORRI หรือ Long Range Reconnaissance Imager (LORRI) จากยานอวกาศ New Horizons โดยเป็นภาพความละเอียดต่ำ ซึ่งถูกถ่ายเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม (เนื่องจากการส่งข้อมูลต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่าจะถึงโลก) โดยภาพถ่ายนี้จะเห็นว่าจุดเด่นคือ บริเวณพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายรูป “หัวใจ” ถ่ายในระยะ 5 ล้านไมล์ หรือประมาณ 8 ล้านกิโลเมตรจากดาวพลูโต มาถึงยานอวกาศ New Horizons
นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ว่า ดาวพลูโตมีลักษณะพื้นผิวขรุขระไม่สม่ำเสมอ โดยสังเกตได้จากการสะท้อนแสงแต่ละบริเวณที่ให้ความสว่างของภาพออกมาไม่เท่ากัน โดยแบ่งได้ 3 บริเวณใหญ่ๆ ดังนี้
1. โดยบริเวณแรกจะเป็นโซนมืดยาวแถวเส้นศูนย์สูตร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “The Whale” อยู่บริเวณด้านซ้ายล่างของภาพ
2. บริเวณที่เป็นรูปหัวใจ (A Large Heart-Shaped) จะมีความสว่างที่สุด โดยมีความกว้างกว่า 1,200 ไมล์ หรือ 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางด้านขวาของภาพ
3. บริเวณที่มีความสว่างในระดับปานกลางทางด้านเหนือของรูปจะเป็นบริเวณขั้วของดาว (Polar Region)
ภาพถ่ายในครั้งต่อไปนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะได้เห็นภาพในระยะใกล้มากกว่านี้ ซึ่งจะให้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างน้อย 500 เท่ากว่าภาพที่ถ่ายได้ในวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับดาวพลูโต
1. ชมภาพคู่ของดาวพลูโตและชารอน Pluto and Charon
3. รูปภาพใหม่ของดาวพลูโตในระยะใกล้กว่าเดิม
4. มาดูลำดับการสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
4. ดาวพลูโตใหญ่แค่ไหน
Reference and More Detail & pics
“NASA’s New Horizons: A “Heart” from Pluto as Flyby Begins.”. [Online]. Available : nasa.gov 2015.
No Responses