ผลงานวิจัยจาก RIKEN มีออกมาให้ติดตามอยู่เรื่อย ๆ อย่างวันนี้แอดอ่านข่าวที่ช่วยเปิดความเป็นไปได้ของความคิดในวัยเด็ก
“ทำไมตารางธาตุถึงมีแค่ 7 คาบ”
ภายหลังตระหนักได้ว่า อ๋อ กว่าจะธาตุใส่ในตารางธาตุได้มีเหตุผลหลัก ๆ อยู่ 2-3 อย่าง เช่น พบในธรรมชาติ หรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น เป็นต้น
ปัจจุบันมีธาตุประมาณ 94 ธาตุที่พบได้ในธรรมชาติบนโลก มี 80 ธาตุที่เสถียร นอกนั้นเป็นธาตุกัมมันตรังสีจะสลายเป็นธาตุที่เบากว่าในระยะเวลาที่ต่างกัน และธาตุสังเคราะห์อื่น ๆ
ส่วนธาตุที่มีเลขอะตอมสูง ๆ (Superheavy) เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ผ่านปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น ธาตุโอกาเนสซอน ที่มีเลขอะตอม 118 มีครึ่งชีวิตเพียง 0.89 มิลลิวินาที ด้วยระยะเวลาอันน้อยนิดทำให้เชื่อว่าไม่น่าจะมีธาตุสังเคราะห์ที่หนักกว่านีได้
นักวิจัยจาก RIKEN ได้ทดลองยิงธาตุ Neon Magnesium และ Calcium ไปยังกลุ่มธาตุสองตัวที่หนักกว่าได้แก่ Curium และ Uranium (ใช้ธาตุหนักสองชนิดเป็นเป้าเพราะต้องการให้รูปร่างผิดปกติ นักวิจัยเชื่อว่าจะเพิ่มโอกาสในการสร้างนิวเคลียสของธาตุชนิดใหม่ได้อย่างประสิทธิภาพที่สุด นี่คือความแตกต่างจากการทดลองที่ผ่าน ๆ มา)
จากนั้นวัดผลด้วยเครื่อง Gas-Filled recoil ion separator ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ได้ธาตุที่มีมวลนิวเคลียสใหญ่กว่าเดิม คล้ายลูกรักบี้ (Rugby Ball) เรียกกระบวนที่เกิดขึ้นว่า Hot Fusion Reaction แต่น่าเสียดายผลที่ได้ กลับได้ธาตุหนักที่เคยพบมาแล้ว ได้แก่ ซีบอร์เกียม (Sg เลขอะตอม Z=106), ฮัสเซียม (Hs 108), โคเปอร์นิเซียม (Cn 112) และ ลิเวอร์มอเรียม (Lv 116) แต่จัดว่าอยู่เกือบท้ายสุดของตารางธาตุ ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว
Tanaka หนึ่งในวิจัยกล่าวว่า
“เราเชื่อว่าวิธีการของเราน่าจะมีศักยภาพพอในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ในไม่ช้านี้ อาจจะเป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 119 หรือ 120 แต่ในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้าเป้าหมายของเราคือ ได้ธาตุหนักที่มีความเสถียรให้ได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่”
พูดตบปิดท้ายด้วยความมุ่งมั่นสุด ๆ
Bottom Line :
โอกาเนสซอน (Oganesson) เป็นธาตุที่หนักที่สุดในปัจจุบันมีเลขอะตอม 118 อยู่ในคาบเดียวกับแก๊สมีตระกูลเดิมเชื่อว่าอยู่ในสถานะแก๊สในสภาวะมาตรฐาน ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นของแข็ง (ยังไม่ยืนยัน)
เอคา – เรดอน เป็นชื่อเดิมของ โอกาเนสซอน จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) ได้เสนอชื่อใหม่เป็น Oganesson : Og เป็นเกียรติแก่ “ยูริ โอกาเนสเซียน” นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวรัสเซีย
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] Study of Quasielastic Barrier Distributions as a Step towards the Synthesis of Superheavy Elements with Hot Fusion Reactions. https://journals.aps.org/, 2020 : https://journals.aps.org/…/a…/10.1103/PhysRevLett.124.052502
[2] Synthesizing new superheavy elements to open up the eighth period of the periodic table. phys.org, 2020 : https://phys.org/…/2020-04-superheavy-elements-eighth-perio…
[3] Oganesson. wiki, 2020 : https://en.wikipedia.org/wiki/Oganesson
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys