ทีมวิจัยจากนานาชาติพบหลักฐานบ่งชี้ว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthals) กินเนื้อสดเป็นอาหาร โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences
โดยค้นพบเศษของโปรตีนบนตัวอย่างฟันที่ค้นพบที่ฝรั่งเศส และเชื่อว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกินเนื้อสัตว์แบบดิบ ๆ โดยเฉพาะสัตว์กินพืชเป็นส่วนใหญ่
เป็นที่รู้กันว่ามนุษย์สปีชีส์นี้ได้สูญพันธุ์เป็นระยะเวลานานแล้ว ว่ากันในเรื่องทักษะและความฉลาดน้อยกว่ามนุษย์อย่างเรา ๆ มาก และส่วนใหญ่เป็นพวกกินพืช หรือ Vegetarian แต่งานวิจัยครั้งล่าสุดนี้ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนกว่าที่เราคาดคิด
ทำลายความเชื่อเดิมที่ว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลเป็นมังสวิรัติ ไม่ก็กินของเน่าเป็นอาหาร หรือแม้แต่กินเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าโดยสัตว์อื่นอีกทีหนึ่ง
ตัวอย่างโปรตีนบนซี่ฟัน
ทีมได้พบรูปแบบของโปรตีน – คอลลาเจน บนฟันที่ได้มาจากสองสถานที่ ได้แก่ Grotte Du Renne และ Les Cottés ทั้งนี้สัดส่วนปริมาณของไนโตรเจน – 15 และ ไนโตรเจน – 14 คือสัดส่วนเดียวกันกับที่พบได้ในสัตว์จำพวกกินเนื้อสดเป็นอาหาร เช่น หมาป่า เป็นต้น (นักวิจัยใช้สัดส่วนของปริมาณไนโตรเจนเป็นตัวชี้วัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีพฤติกรรมการกินอย่างไร เพราะโปรตีนมี ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ)
นั่นยิ่งทำให้เชื่อว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลชอบกินเนื้อสัตว์แบบสด ๆ และหลักฐานอีกชิ้นที่คอนเฟิร์มแนวคิดนี้ก็คือ การค้นพบหอกที่อยู่ใกล้ ๆ กับกระดูกสัตว์ที่ถูกล่าอีกด้วย
นอกจากนี้ทรวงอกของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็มีขนาดใหญ่ (บ่งชี้จากโครงกระดูกบริเวณทรวงอก) แสดงถึงมีตับและไตขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตจำพวกที่กินอาหารโปรตีนสูง มักจะมีจุดเด่นทางกายภาพตามที่กล่าวมา
- หลักฐานในถ้ำบ่งชี้ว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทาลกินกันเอง
- Homo erectus เผ่าพันธุ์มนุษย์ที่สูญพันธุ์เพราะความขี้เกียจ
และอาหารยอดฮิตของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ก็คงหนีไม่พ้น กวาง เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ล่าได้ง่ายเมื่อใช้อาวุธจำพวกหอก และมักพบซากของกวางอยู่ใกล้ในบริเวณใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ
Read Original Article and More Detail & Media
“Isotopes found in bones suggest Neanderthals were fresh meat eaters.”. [Online]. via : phys.org 2018.
Exceptionally high δ15N values in collagen single amino acids confirm Neandertals as high-trophic level carnivores, Proceedings of the National Academy of Sciences (2019). www.pnas.org/cgi/doi/10.1073/pnas.1814087116