Credit : iflscience
โดยปกติแล้วแบตเตอรี่ส่วนใหญ่สามารถชาร์จใหม่ได้ไม่เกิน 5,000 ถึง 7,000 ครั้ง
สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่ทุกๆคนต้องพึ่งพลังงานไฟฟ้า เพราะทุกคนมีอุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน และอื่นๆ พกติดตัวกันเกือบทุกคน และปัญหาที่มักพบเป็นประจำคือ แบตเตอรี่มีวงรอบการชาร์จที่ต่ำทำให้ต้องเปลี่ยนกันบ่อยครั้ง ส่งผลทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนมากขึ้นในแต่ละวันอีกด้วย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย California นำโดย Mya Le Thai ร่วมกับนักวิจัยอีกหลายคนสามารถพัฒนาแบตเตอรี่ที่สามารถรีชาร์จได้ถึง 200,000 ครั้ง หรือหากคิดง่ายๆว่าเราชาร์จไฟวันละหนึ่งครั้ง นั่นหมายถึงมันมีอายุการใช้งานได้ถึง 547 ปีเลยทีเดียว (ในความเป็นจริงอาจน้อยกว่า แต่นั่นก็พอสำหรับการใช้คำว่า “ตลอดชีวิตการใช้งาน”)
วัสดุที่ใช้ในการทำแบตเตอรี่ดังกล่าวคือ เส้นลวดนาโน (Nanowires) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์เป็นอย่างมาก ส่งผลให้การเก็บประจุและการส่งอิเล็กตรอนดีขึ้น แต่ข้อเสียของ Nanowires คือมันเปราะแตกหักง่าย แต่นักวิจัยก็แก้ไขโดยการนำ Nanowires ที่ทำจากทองคำมาเคลือบด้วยแมงกานีสออกไซด์ แล้วนำไปใส่ในสารอิเล็กโทรไลต์ที่เรียกว่า Plexiglas-like เจล เพื่อป้องกันการแตกหัก
นักวิจัยหวังว่าการทำแบตเตอรี่ที่ใช้ Nanowires จะสามารถทำให้เรามีแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานที่นานยิ่งขึ้น และทำได้จริงในเร็วๆนี้
Read Original Article and More Detail & Media
“A Researcher Just Accidentally Developed A Battery That Could Last A Lifetime.”. [Online]. via : iflscience 2016.
“nanowire battery.”. [Online]. via : wiki 2016.