ปกติถ้าผีเสื้อบินหาอาหารจากดอกไม้ในเวลากลางวัน เราก็คงไม่แปลกใจว่ามันหาเจอได้อย่างไร (ก็มันตอนกลางวันนี่นา) แต่นักวิจัย Simon Sponberg จาก School of Physics and School of Applied Physiology โดยการสนับสนุนจาก National Science Foundation and Air Force office of Scientific Research สงสัยต่อไปว่าแล้วตอนกลางคืน “ผีเสื้อกลางคืนมันมองเห็นดอกไม้เจอได้อย่างไร”
งานวิจัยในครั้งนี้ถูกดีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2015 ได้ค้นพบศักยภาพบางอย่างของสมองของผีเสื้อกลางคืน ที่ทำให้มันสามารถมองเห็นดอกไม้ได้ Simon ได้ทดลองโดยการทำดอกไม้ปลอมที่สามารถเคลื่อนไหวเหมือนดอกไม้จริงที่พัดไปมาเนื่องจากแรงลม เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองของผีเสื้อกลางคืน
ขณะที่ผีเสื้อกลางคืนบินออกหาดอกไม้นั้น สมองจะถูกใช้งานน้อยลงบางส่วนและไปเพิ่มศักยภาพสมองในส่วนการมองเห็นแทน นี่แสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตยอมลดศักยภาพทางสมองของตัวเองและเพิ่มความสามารถในการหาอาหารเพื่อความอยู่รอด
รับชมภาพเคลื่อนไหวขณะที่ผีเสื้อกลางคืนกำลังบินไปดูดน้ำ Video
References detailed & pics
“How the hawkmoth sees, hovers and tracks flowers in the dark.”. [Online]. Available : PhysNews 2015.