นักวิจัยจาก Lawrence Livermore National Laboratory ได้ศึกษากลไกความเป็นไปของเมฆระดับต่ำ ที่มีอิทธิพลต่อสมดุลของพลังงานความร้อนภายในโลก โดยเชื่อว่ามันสามารถบ่งชี้และอธิบายเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนได้ โดยสังเกตจากรูปแบบการตีแผ่ของเมฆ
ผลการวิจัยที่เผยแพร่วันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมาฉบับแก้ไข จากนิตยสาร Nature Geosciences พบว่าภาวะโลกร้อนนั้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพียงอย่างเดียว
นักวิจัยเลยโฟกัสไปที่เมฆ เพราะเมฆนั้นป้องกันไม่ให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์มาสู่พื้นดิน เนื่องด้วยพลังงานบางส่วนสะท้อนออกโดยเมฆ ถ้าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มันก็น่าจะทำให้มีเมฆเกิดขึ้นจำนวนมากและควรมีลักษณะเป็นแผ่นบริเวณกว้าง กินพื้นที่หลายล้านตารางกิโลเมตร ดังนั้นเมฆอาจช่วยเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าภาวะโลกร้อนนั้นกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นน้อยเพียงใด
ผลของการศึกษาพบว่าแถบพื้นที่เขตร้อนของโลก สภาพอากาศในรอบ 30 ปีมีแนวโน้มอุณหภูมิค่อนข้างลดลง เป็นผลมาจากมีเมฆจำนวนมากที่ช่วยสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ไปสู่อวกาศ จะเห็นว่าเมฆมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของสภาพอากาศบนโลกของเรา (อาจกล่าวได้ว่าอุณหภูมิบนโลกมีความแปรปรวนอันเนื่องมาจากการการเกิดเมฆจำนวนมาก)
ตั้งแต่ปี 1980 หรือในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโลกร้อน กับความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือเมฆนั้นถูกลดความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่คิดว่าเมฆจะเป็นตัวบ่งชี้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนได้ แต่การสังเกตการณ์เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นไปได้
Read Original Article and More Detail & Media
“Impact of decadal cloud variations on the Earth’s energy budget.”. [Online]. via : 2016.