ภาพดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าโลกของเรานี้ ถ่ายจากดาวเทียม DSCOVR หรือ Deep Space Climate Observatory ซึ่งมีวงโคจรอยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 1 ล้านไมล์ โดยภาพมีความละเอียดประมาณ 4 เมกะพิเซล โดยใช้กล้อง CCD ถ่ายเมื่อวันที่ 16 กรกฏาคมระหว่างเวลาบ่าย 3: 50 นาฬิกา ถึง เวลา 20:45 นาที ตามเวลาโซนตะวันออก EDT
ภารกิจของดาวเทียม DSCOVR
ภารกิจหลักของดาวเทียม DSCOVR คือ ติดตามและวิเคราะห์ลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ที่อาจมีผลต่อสภาพอากาศบนโลก และรายงานผ่าน NOAA หรือ National Oceanic and Atmospheric Administration ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
มนุษย์พึ่งเห็นด้านไกลของดวงจันทร์เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว
มนุษย์ไม่เคยเห็นภาพดวงจันทร์ด้านไกล (Far side) จนกระทั่งปี 1959 ยานอวกาศ Soviet Luna 3 สามารถถ่ายภาพดวงจันทร์ด้านไกลได้เป็นภาพแรก และต่อมาภารกิจของ NASA ก็ทำให้ได้ภาพที่คมชัดมากขึ้น
ทำไมถึงเห็นดวงจันทร์แค่ด้านเดียว
ปกติแล้วดวงจันทร์จะหันด้านใกล้ หรือด้านที่เรามองเห็นเป็นประจำเข้าหาโลกเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าคาบหรือเวลาที่โคจรรอบโลกของดวงจันทร์ เท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองพอดี
แปลและเรียบเรียงโดย thaiphysicsteacher.com
Reference and More Detail & pics
“From a Million Miles Away, NASA Camera Shows Moon Crossing Face of Earth.”. [Online]. via : NASA.gov 2015.