ยานสำรวจอวกาศแคสซินีได้สำรวจดาวเสาร์มาเป็นเวลากว่า 20 ปี และในวันที่ 15 กันยายน 2017 หรือปีหน้าก็จะสิ้นสุดภารกิจ
ในช่วงท้ายปี 2016 ยานสำรวจอวกาศแคสซินีจะได้ทำภารกิจสำคัญ ซึ่งก็คือบินเข้าใกล้ขั้วเหนือของดาวเสาร์มากที่สุดเท่าที่ยานสำรวจอวกาศใดๆเคยทำมา โดยจะใกล้สุด ณ บริเวณขอบนอกของวงแหวนหลัก (บริเวณ F ring) โดยที่วงแหวนของดาวเสาร์มีอยู่ด้วยกัน 7 วง เรียงตามลำดับอักษร A – G
ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2016 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2017 ยานแคสซินีจะโคจรรอบดาวเสาร์เป็นวงรีที่มีความรีสูง เพื่อโฉบเข้าใกล้บริเวณขั้วเหนือของดาวเสาร์ ประมาณไว้ว่าจะโคจรรอบดาวเสาร์ในช่วงเวลาดังกล่าวถึง 20 กว่ารอบ อีกทั้งใกล้กับวงแหวน F ซึ่งอาจทำให้เราได้ภาพวงแหวนที่ชัดที่สุดเท่าที่ยานสำรวจอวกาศใดๆเคยถ่ายมา ในระยะเพียง 7,800 กิโลเมตรระหว่างยานกับวงแหวน โดยวงแหวน F มีความกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร ซึ่งมีความแคบมากเมื่อเทียบกับวงแหวนในบริเวณอื่นๆ
การค้นพบที่สำคัญของยานแคสซินี
- ยานสำรวจแคสซินีพบทะเลสาบมีเทนบนดาวไททัน ซึ่งเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์
- ค้นพบมหาสมุทรที่ซ่อนอยู่ภายในพื้นผิวของดวงจันทร์ Enceladus
ประวัติโดยย่อของยานแคสซินี
ยานแคสซินีถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี 1997 เดินทางถึงดาวเสาร์ในปี 2004 ภารกิจหลักคือศึกษาดาวเสาร์และวงแหวนของมัน รวมทั้งดวงจันทร์บริวารที่ซ่อนอยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ เช่น ดวงจันทร์ Pandora, Daphnis และ Atlas และยังเชื่อว่ายังมีอีกหลายดวงที่ไม่ได้ค้นพบ
Read Original Article and More Detail & Media
“NASA Saturn Mission Prepares for ‘Ring-Grazing Orbits’.”. [Online]. via : NASA 2016.
“Cassini–Huygens“. [Online]. via : wiki 2016.
“The Grand Finale of Cassini“. [Online]. via : saturn/nasa 2016.