นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ และมหาวิทยาลัยซินซินนาติ ได้ค้นพบว่าพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของแมงมุมส่งผลต่อการเรียนรู้ผ่านพฤติกรรมการแอบมอง (Eavesdropping) ได้ โดยการค้นพบนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยนานาชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ (the International Research Journal Animal Behaviour)
การผสมพันธุ์ของแมงมุม Schizocosa Ocreata
ในธรรมชาติแมงมุม Ocreata ตัวผู้จะเริ่มสร้างใยเมื่อได้กลิ่นฟีโรโมนจากเส้นใยของแมงมุมตัวเมีย หากมีตัวผู้ตัวอื่นอยู่ใกล้ๆด้วยมันจะยิ่งรีบสร้างรังด้วยใยของตัวเอง เพื่อให้มีโอกาสได้ผสมพันธุ์กับแมงมุมตัวเมียก่อนตัวผู้ตัวอื่นๆ
George Uetz หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า “พฤติกรรมการผสมพันธุ์ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของแมงมุมตัวผู้ นอกจากฟีโรโมนจะเป็นสิ่งเร้าที่ผลักดันทำให้แมงมุมตัวผู้เริ่มสร้างใยแข่งขันกัน การมองเห็นก็มีส่วนอีกเช่นกัน” โดยเขาได้เปิดวีดิโอการสร้างรังของแมงมุมตัวเมีย และตัวผู้อีกตัวที่เป็นคู่แข่งให้แมงมุมเพศผู้อีกตัวได้ดู ปรากฏว่าแมงมุมที่เป็นตัวอย่างการทดลอง ได้รีบสร้างรังเพื่อจะเอาชนะแมงมุมตัวผู้อีกตัวที่อยู่ในจอภาพ
วีดิโอการทดลอง
พฤติกรรมการแอบมอง (Eavesdropping)
George กล่าวว่า “เราเคยคิดว่าสัตว์เล็กๆที่ไม่มีกระดูกสันหลังพวกนี้จะทำเรื่องแบบนี้ได้ เพราะมันมีสมองที่เล็กมาก พฤติกรรมส่วนใหญ่ก็มาจากสัญชาตญาณ และระบบประสาทแบบร่างแห พฤติกรรมการผสมพันธุ์ และการแข่งขันนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ในขณะที่มันมีสมองที่เล็กนิดเดียว”
โดยทั่วไป พฤติกรรมการแอบมอง (Eavesdropping) แล้วเลียนแบบพฤติกรรมนั้นๆ เราจะพบได้กับสัตว์ที่มีสมองขนาดใหญ่ เช่น นก ปลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แต่น้อยนักที่จะพบได้ในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างแมงมุม Ocreata
รู้หรือไม่ แมงมุมตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าแมงมุมตัวผู้ หลังจากที่มันผสมพันธุ์กันเสร็จแล้ว แมงมุมตัวเมียจะจับแมงมุมตัวผู้กินเป็นอาหาร โดยร้อยละ 12 ของแมงมุมตัวผู้จะถูกแมงมุมตัวเมียจับกิน Credit George Uetz /Uc.edu |
แปลและเรียบเรียงโดย thaiphysicsteacher.com
Reference and More Detail & pics
“Spiders Quickly Learn Eavesdropping to Gain Ground on the Mating Competition.”. [Online]. via : www.uc.edu 2015.