เป็นเวลากว่าร้อยปีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์พยายามอธิบายความเป็นมาของดวงจันทร์ (The Moon) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาจากไหน
หนึ่งในโมเดลที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ก็คือ มีเทหวัตถุแข็งขนาดใหญ่เท่าดาวอังคารพุ่งชนโลกแบบเฉียด ๆ (ไม่ผ่านจุดศูนย์กลางโลก) ทำให้เนื้อสารบางส่วนจมลงสู่โลก และเนื้อสารที่เหลือของเทหวัตถุนั้นวิ่งโคจรรอบโลก หลอมรวมเป็นดวงจันทร์ในปัจจุบัน
แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale และญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Nature Geoscience นำเสนอโดยนักธรณีฟิสิกส์ Shun-ichiro Karato ได้อธิบายว่า
50 ล้านปีก่อนหลังจากถือกำเนิดดวงอาทิตย์ ผิวโลกเต็มไปด้วยทะเลแมกมา (Sea of hot magma) ขณะเดียวกันโลกยังไม่ทันเย็นตัวลงก็มีเทหวัตถุแข็งจากนอกโลกพุ่งชน เนื้อสารบางส่วนได้หลุดจากแรงโน้มถ่วงโลก และโคจรหลอมรวมเป็นดวงจันทร์
จุดที่แตกต่างเกี่ยวกับโมเดลถือกำเนิดดวงจันทร์ของงานวิจัยนี้ก็คือ
- ดั้งเดิม – ส่วนประกอบของดวงจันทร์ 80% มาจากเทหวัตถุที่พุ่งชนโลก (Impactor)
- โมเดลของทีมวิจัยจาก Yale และญี่ปุ่น – 80% มาจากโลกที่พึ่งถือกำเนิด (Proto – Earth)
From Earth not Impactor
Karato อธิบายว่า โมเดลจากการวิจัยนี้เชื่อว่าเนื้อสารที่หลุดไปนอกโลกและหลอมรวมเป็นดวงจันทร์มาจากโลกต่างหาก (Earth) แทนที่จะเป็นเนื้อสารที่เหลือของวัตถุที่พุ่งชนโลก (Impactor) นี่คือจุดแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากโมเดลในอดีต
เพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีนี้ถูกต้องและใช้อธิบายได้ ทีมวิจัยจึงให้ความสนใจในการองค์ประกอบของแร่ซิลิเกตในพบได้ในหินที่เกิดจากการเย็นตัวของ Magma นั่นหมายถึงว่าในอนาคตทีมวิจัยหวังจะเปรียบเทียบองค์ประกอบของหินแมกมาเก่าแก่จากโลก กับตัวอย่างหินจากดวงจันทร์นั่นเอง
Source:
Terrestrial magma ocean origin of the Moon, Nature Geoscience (2019).
Magma is the key to the moon’s makeup, phys.org (2019).