บ่อน้ำในยุคแรกเริ่มของการก่อกำเนิดโลกของเรา อาจเป็นแหล่งฟอร์มตัวของสิ่งมีชีวิตตามงานวิจัยของ MIT
นักวิจัยเชื่อว่าบ่อน้ำตื้นลึกในระดับแค่ 10 เซนติเมตร มีศักยภาพและความหนาแน่นขององค์ประกอบในการก่อร่างสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมา เพราะมีระดับความเข้มข้นของไนโตรเจนสูงกว่าที่พบในมหาสมุทรเสียอีก
แต่เดิมมี 2 ทฤษฎีที่เชื่อว่าสารที่จะฟอร์มตัวเป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม (Building Blocks) เกิดขึ้นมาได้
- ณ ก้นมหาสมุทร เมื่อไนโตรเจนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปลดปล่อยจากปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลจนได้สารประกอบที่มีศักยภาพจะเป็นสิ่งมีชีวิตชุดแรก
- ในยุคแรกแก๊สไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศ บางส่วนถูกสลายพันธะและตกลงในมหาสมุทรและแหล่งน้ำตื้นบนโลก เนื่องจากไนโตรเจนในบรรยากาศบางส่วนมีพันธะเชื่อมกันอย่างหนาแน่นแบบพันธะสาม (Triple Bond)
Sukrit Ranjan ผู้นำกล่าวว่า
ไนโตรเจนที่เชื่อมกันด้วย Triple Bond อาจได้พลังงานในการสลายพันธะจากฟ้าผ่า และแตกออกเป็นสารประกอบไนโตรเจน โดยเฉพาะ RNA ซึ่งพบได้แพร่หลายในมหาสมุทรและแหล่งน้ำตื้นบนโลก
Sukrit Ranjan /phys.org
- หินก้นทะเลสาบเก่าแก่บนดาวอังคารชี้อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในอดีต
- ค้นพบธาตุที่จำเป็นต่อการกำเนิดสิ่งมีชีวิตใกล้ดาวแคระขาว
สาเหตุที่ Ranjan ให้น้ำหนักในการเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตควรเกิดในแหล่งน้ำตื้นเนื่องจากว่า ในมหาสมุทร แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และสารขัดขวางการฟอร์มตัวโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอย่างสารละลายโลหะจำพวกเหล็ก เมื่อทำปฏิกิริยากันจะสร้างแก๊สไนโตรเจนลอยขึ้นสู่บรรยากาศ ส่งผลให้ความเข้มข้นของสารสะลายจำพวกไนโตรเจนพบในมหาสมุทรได้น้อยกว่าในบ่อน้ำตื้นที่พบได้แพร่หลายบนแผ่นเปลือกโลก
ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถติดตามงานวิจัยเพิ่มเติ่มได้ที่
[1] : Nitrogen Oxide Concentrations in Natural Waters on Early Earth, Geochemistry, Geophysics, Geosystems, wiley.com. 2019
[2] : “Earliest life may have arisen in ponds, not oceans.“, phys.org. 2019